รายวิชา ประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส22102 คุณครูผู้สอน คุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ข่าว

วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 แหล่งอารยธรรม ในทวีปเอเชีย

  • 1.ประวัติศาสตร์ทวีปเอเชีย

ประวัติศาสตร์ของเอเชีย ปรากฏให้เห็น ในรูปของประวัติศาสตร์ภูมิภาคชายฝั่งรอบนอกของทวีปหลาย ๆภูมิภาคที่มีความแตกต่างกัน คือเอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และตะวันออกกลาง ซึ่งพื้นที่ทั้ง 3 ภูมิภาคนี้ถูกเชื่อมโยงติดต่อกันโดยดินแดนแห่งทุ่งหญ้ายูเรเชียที่กว้างใหญ่ไพศาลภายในทวีป
พื้นที่ชายฝั่งทวีปเอเชียคือพื้นที่ที่อารยธรรมยุคแรก ๆ ก่อกำเนิดขึ้น ทั้ง 3 ภูมิภาคพัฒนาอู่อารยธรรมของตนขึ้นมาบนพื้นที่บริเวณดินแดนลุ่มแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ 3 สาย คือ
อู่อารยธรรมทั้ง 3 มีความเหมือนกันหลายประการ และคงมีการติดต่อแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี่และแนวความคิดระหว่างกันด้วย เช่น ความรู้ด้านคณิตศาสตร์ และการประดิษฐ์ล้อวงกลม เป็นต้น ขณะที่ความคิดอื่นๆ เช่นตัวอักษรนั้นคงมีการพัฒนาแยกเป็นอิสระจากกันในแต่ละภูมิภาค แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำทั้ง 3 ของเอเชียได้เจริญรุ่งเรื่อง พัฒนาเข้าสู่ความเป็น "รัฐ" แล้วขยายอำนาจกลายเป็นอาณาจักรใหญ่ หรือ "จักรวรรดิ" ได้ในเวลาต่อมา
ภูมิภาคทุ่งหญ้าที่แห้งแล้งภายในของทวีปเอเชียนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของชนเผ่าเร่ร่อน (nomads) ที่ขี่ม้า เลี้ยงสัตว์ อยู่ในดินแดนแห่งนี้มาเป็นเวลายาวนาน การมีม้าเป็นพาหนะทำให้พวกเขาสามารถเดินทางจากใจกลางทุ่งโล่งภายในทวีปออกไปยังดินแดนส่วนอื่นๆของทวีปได้ การเคลื่อนย้ายถิ่นฐานจากทุ่งหญ้าครั้งแรกสุดที่รู้จักกันคือกลุ่มอินโด-ยูโรเปียน ซึ่งส่งผลให้เกิดการถ่ายทอดภาษาของกลุ่มออกไปยังดินแดนในตะวันออกกลาง อินเดีย เข้าไปถึงโตชาเรียนและชายแดนจีน ส่วนพื้นที่ทางเหนือของทวีปเอเชีย ซึ่งครอบคลุมส่วนใหญ่ของไซบีเรียนั้นยังเป็นพื้นที่ที่ชนเผ่าเร่ร่อนเหล่านี้เดินทางไปไม่ถึงเนื่องจากภูมิประเทศเป็นป่าทึบและเป็นเขตทุ่งน้ำแข็งที่หนาวเย็น พื้นที่บริเวณนี้จึงมีฝูงชนอาศัยอยู่เบาบางมาก
พื้นที่ใจกลางทวีปและแหล่งอารยธรรมลุ่มน้ำชายขอบทวีปถูกแยกออกจากกันโดยแนวเทือกเขาสูงและทะเลทรายที่กว้างใหญ่ เช่น เทือกเขาคอเคซัส เทือกเขาหิมาลัย ทะเลทรายคาราคูม ทะเลทรายโกบี เป็นต้น เทือกเขาและทะเลทรายเหล่านี้ได้กลายเป็นอุปสรรคขัดขวางสำคัญที่ทำให้ชนเผ่าเร่ร่อนบนหลังม้าต้องเดินทางด้วยความยากลำบากกว่าจะสามารถรุกข้ามไปยังพื้นที่ลุ่มชายฝั่งได้ ขณะที่ประชากรเมืองที่อาศัยอยู่ในแหล่งอารยธรรมเหล่านี้มีความก้าวหน้าทั้งทางด้านเทคโนโลยีและวัฒนธรรมมากกว่าชนเผ่าเร่ร่อนมาก แต่ก็ตกเป็นรองผู้รุกรานบนหลังม้ามากทางด้านการทหาร ทำให้กลายเป็นผู้พ่ายแพ้ไป อย่างไรก็ตาม เนื่องจากดินแดนในที่ลุ่มเหล่านี้ไม่มีทุ่งหญ้าที่กว้างใหญ่สำหรับเลี้ยงดูกองทัพม้าขนาดมหึมาของผู้รุกรานได้ ท้ายที่สุด ชนเผ่าเร่รอนผู้พิชิตรัฐต่างๆ ทั้งในจีน อินเดีย และตะวันออกกลาง จึงถูกบีบให้ปรับตัวเข้ากับสังคมท้องถิ่นที่ตนเป็นฝ่ายรุกรานครอบครองไป

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 หลักฐานทาง ประวัติศาสตร์

  • 1. หลักฐานประวัติศาสตร์

หลักฐานประวัติศาสตร์
          นักประวัติศาสตร์ ชาวฝรั่งเศส ชื่อ มาร์ค บลอค Marc Block ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับ หลักฐานประวัติศาสตร์ ว่า หลักฐานประวัติศาสตร์ คือร่องรอยพฤติกรรม การพูด การเขียน การประดิษฐ์คิดค้นการดำรงชีวิตของมนุษย์และสิ่งที่มีอยู่ภายในหลักฐานก็คือร่องรอย ความรู้สึกนึกคิด โลกทัศน์และจารีตประเพณีของมนุษย์ในอดีตที่อาจ ตกทอดถึงปัจจุบัน โดยมีร่องรอยอยู่ในธรรมชาติและวัฒนธรรมของมนุษย์

          สรุปว่า หลักฐานประวัติศาสตร์ หมายถึงร่องรอยการกระทำ การแสดง การพูด การเขียน การประดิษฐ์ สิ่งก่อสร้าง ร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ รวมทั้งความคิดอ่าน ความรู้สึก ประเพณีปฏิบัติของมนุษย์ในอดีต ที่ได้ทิ้งร่องรอยเอาไว้ ในบริเวณที่มนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้อง ซึ่งกล่าวได้ว่า อะไรก็ตามที่มนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้อง ก็ใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ทั้งสิ้น 


ประเภทหลักฐานประวัติศาสตร์
1. หลักฐานที่จำแนกตามความสำคัญ
    1.1 หลักฐานชั้นต้น 
    1.2 หลักฐานชั้นรอง
2. หลักฐานที่ใช้อักษรเป็นตัวกำหนด
    2.1 หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร
    2.2 หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร
    2.2 หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
3. หลักฐานที่กำหนดตามจุดหมายของการผลิต
    3.1 หลักฐานที่มนุษย์ตั้งใจสร้างขึ้น
    3.2 หลักฐานที่มิได้เป็นผลผลิตที่มนุษย์สร้างหรือตั้งใจสร้าง


1.1 หลักฐานชั้นต้น primary sources
        หมายถึง คำบอกเล่าหรือบันทึกของผู้พบเห็นเหตุการณ์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โดยตรง ได้แก่ บันทึกการเดินทาง จดหมายเหตุ จารึก รวมถึงสิ่งก่อสร้าง หลักฐานทางโบราณคดี โบราณสถาน โบราณวัตถุ เช่น โบสถ์ เจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป รูปปั้น หม้อ ไห ฯลฯ

1.2 หลักฐานชั้นรอง secondary sources
         หมายถึง ผลงานที่เขียนขึ้น หรือเรียบเรียงขึ้นภายหลังจากเกิดเหตุการณ์นั้นแล้ว โดยอาศัยคำบอกเล่า หรือจากหลักฐานชั้นต้นต่างๆ ได้แก่ ตำนาน วิทยานิพนธ์ เป็นต้น

2.1 หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร written sources
        หมายถึง หลักฐานที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ได้แก่ ศิลาจารึก พงศาวดาร ใบลาน จดหมายเหตุ วรรณกรรม ชีวประวัติ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร รวมถึงการบันทึกไว้ตามสิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน โบราณวัตถุ แผนที่ หลักฐานประเภทนี้จัดว่าเป็นหลักฐานสมัยประวัติศาสตร์
2.2 หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
        หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งหมดที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ สิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปการแสดง คำบอกเล่า นาฏศิลป์ ตนตรี จิตรกรรม ฯลฯ

3.1 หลักฐานที่มนุษย์ตั้งใจสร้างขึ้น artiface 
        หมายถึง หลักฐานที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต
3.2 หลักฐานที่มิได้เป็นผลผลิตที่มนุษย์สร้างหรือตั้งใจสร้าง 
        หมายถึง วิธีการทางประวัติศาสตร์ กระบวนการสืบค้นเรื่องราวในอดีตของสังคมมนุษย์เริ่มต้นที่ความอยากรู้อยากเห็นของผู้ต้องการ ศึกษาและต้องการสอบสวนค้นคว้า หาคำตอบด้วยตนเอง จากร่องรอยที่คนในอดีตได้ทำไว้และตกทอดเหลือมาถึงปัจจุบัน


ช่วงเวลา ศักราช 

การนับและเทียบศักราชสากลและไทย
          1. การนับศักราชสากลที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบันคือ คริสต์ศักราช ซึ่งเป็นศักราชของคริสต์ศาสนา เริ่มนับเมื่อพระเยซูประสูติ (25 ธันวาคม) หลัง พุทธศักราช 543 ปี ซึ่งพระเยซูเป็นศาสดาของคริสต์ศาสนา เริ่มนับเป็นคริสต์ศักราช 1 (ค.ศ.1) หรือ A.D.1 ย่อมาจากคำว่า “Anno Domini” การนับศักราช ก่อนที่พระเยซูประสูติ เรียกว่า before christ เขียนย่อ ๆ ว่า B.C. ตัวอย่าง 1,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช เขียนว่า 1,000 B.C. หมายความว่า เป็นช่วงเวลา 1,000 ปี ก่อนพระเยซูประสูติ 
          2. การนับศักราชไทย ที่ใช้กันปัจจุบัน คือพุทธศักราช ซึ่งเป็นศักราชของพระพุทธศาสนา คือ พ.ศ.1 หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน (วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6) แล้ว 1 ปี คือ ปีแรกนับเป็น พ.ศ.0 เมื่อครบ 1 ปี จึงเริ่มนับ พ.ศ.1 
          นอกจากนับศักราชเป็นแบบ พ.ศ. แล้ว ในเมืองไทยยังมีการนับศักราชแบบอื่น ๆ ด้วย คือ รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) จุลศักราช (จ.ศ.) มหาศักราช (ม.ศ.) ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.) มีเกณฑ์การเทียบดังนี้

การเทียบศักราช
ร.ศ. + 2324 = พ.ศ.พ.ศ. - 2324 = ร.ศ.

จ.ศ. + 1181 = พ.ศ.พ.ศ. - 1181 = จ.ศ.

ม.ศ. + 621   = พ.ศ.พ.ศ. - 621 = ม.ศ.

.ศ. - 579   = ฮ.ศ.พ.ศ. - 1122 = ฮ.ศ.

ตัวอย่าง
ร.ศ.1+2324 = พ.ศ. 2325ร.ศ. 227  = พ.ศ. 2551
  • จ.ศ.1+1181 = พ.ศ. 1182จ.ศ.1370 = พ.ศ. 2551
ม.ศ.1+621 = พ.ศ. 622ม.ศ.1930 = พ.ศ. 2551
  • (ค.ศ. 2008 - 579) = (พ.ศ. 2551-1122) = ฮ.ศ.1429

        3. ฮิจญ์เราะหฺศักราช (ฮ.ศ.) เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 1165 เมื่อปีที่ท่านนบีมุฮัมมัด อพยพจากเมืองเมกกะ (มักกะหฺ) ไปยังเมืองเมดีนา (มะดีนะหฺ) โดย ฮ.ศ. 1 ตรงกับ พ.ศ. 1165 แต่การเทียบรอบปี ของ ฮ.ศ. กับ พ.ศ. มีความคลาดเคลื่อนไม่ตรงกัน โดยทุก ๆ 32 ปีครึ่ง ของ ฮ.ศ. จะเพิ่มขึ้น 1ปี เมื่อเทียบกับ พ.ศ. ปัจจุบัน ฮ.ศ. น้อยกว่า พ.ศ. 1122 ปีและน้อยกว่า ๕.ศ. 579 ปี   ฮิจญ์เราะหฺศักราช (ฮ.ศ.) นิยมใช้ในประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ชาวไทยมุสลิมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันใช้ฮิจญ์เราะหฺศักราชเพื่อประกอบศาสนกิจ โดยฟังประกาศจากสำนักจุฬาราชมนตรี 
        4. จุลศักราช (จ.ศ.) เป็นการนับเดือนปีเป็นแบบทางจันทรคติ เริ่มนับ จ.ศ. 1 เมื่อปี พ.ศ. 1182 โดยนับเอาวันที่พระบุพโสระหัน สึกออกจากการเป็นพระมาเพื่อชิงราชบัลลังก์เป็นวันแรกของศักราช ในสมัยโบราณถือตามสุริยคติ (คัมภีร์สุริยยาตร) ใช้วันเถลิงศก (ปัจจุบันตกราว 16 เมษายน) เป็นวันปีใหม่ แต่ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดเกล้าให้ถือตามจันทรคติ คือใช้วันแรม 15 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปีเป็นวันสิ้นปี 

การเรียกปีจุลศักราชมีดังนี้

        ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 1 เรียกว่า เอกศก เช่น วันอาทิตย์ ขึ้น 3 ค่ำเดือน 5 ปีกุนเอกศก จุลศักราช 1381
        ตรงกับวันที่ 7 เดือนเมษายน ปีกุน พ.ศ. 2562 ค.ศ. 2019 

        ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข เรียกว่า โทศก เช่น วันพุธ ขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ปีชวดโทศก จุลศักราช 1382 
        ตรงกับ วันที่ 6 เดือนพฤษภาคม ปีชวด พ.ศ. 2563 ค.ศ. 2020 

        ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 3 เรียกว่า ตรีศก เช่น วันศุกร์ แรม 10 ค่ำเดือน 10 ปีฉลูตรีศก จุลศักราช 1383
        ตรงกับ วันที่ 1 เดือนตุลาคม ปีฉลู พ.ศ. 2564 ค.ศ. 2021 

        ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 4 เรียกว่า จัตวาศก เช่น วันจันทร์ ขึ้น 8 ค่ำเดือน 11ปีขาลจัตวาศก จุลศักราช 1384 
        ตรงกับวันที่ 3 เดือนตุลาคม ปีขาล พ.ศ. 2565 ค.ศ. 2022 

        ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 5 เรียกว่า เบญจศก เช่น วันเสาร์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะเบญจศก จุลศักราช 1385 
        ตรงกับวันที่ 27 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 ค.ศ. 2023

        ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 6 เรียกว่า ฉศก เช่น วันอาทิตย์ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรงฉศก จุลศักราช 1386 
        ตรงกับวันที่ 15 เดือนกันยายน ปีมะโรง พ.ศ. 2567 ค.ศ. 2024

        ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 7 เรียกว่า สัปตศก เช่น วันพุธ ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเส็งสัปตศก จุลศักราช 1387 
        ตรงกับ วันที่ 28 เดือนพฤษภาคม ปีมะเส็ง พ.ศ. 2568 ค.ศ. 2025

        ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 8 เรียกว่า อัฐศก เช่น วันพฤหัส ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเมียอัฐศก จุลศักราช 1388
        ตรงกับ วันที่ 18 เดือนมิถุนายน ปีมะเมีย พ.ศ. 2569 ค.ศ. 2026

        ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข เรียกว่า นพศก เช่น วันศุกร์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 10 ปีมะแมนพศก จุลศักราช 1389 
        ตรงกับ วันที่ 10 เดือนกันยายน ปีมะแม พ.ศ. 2570 ค.ศ. 2027

        ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 0 เรียกว่า สัมฤทธิศก เช่น วันอังคาร ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก สัมฤทธิศก จุลศักราช 1380 
        ตรงกับ วันที่ 30 เดือนพฤษภาคม ปีวอก พ.ศ. 2571 ค.ศ. 2028



  • 2.การแบ่งยุคประวัติศาสตร์




การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์

        การศึกษาประวัติศาสตร์ ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาเรื่องราวการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ตั้งแต่เริ่มมีมนุษย์อาศัยอยู่บนโลกจนถึงปัจจุบัน 
        ซึ่งเราก็ไม่ทราบแน่ชัดว่า โลกเราเริ่มมีมนุษย์เกิดขึ้นเมื่อไร เพียงแต่สันนิษฐาน โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ โดยการสืบค้น วิเคราะห์ข้อมูลและหลักฐานต่าง ๆ 
        แต่จะให้แม่นยำในเรื่องของระยะเวลา ก็ต้องเป็นการบันทึกเหตุการณ์ โดยมนุษย์เองซึ่งก็ต้องเป็นสมัยที่มนุษย์ มีการสื่อสารโดยใช้ตัวอักษรแล้ว 
        แต่การศึกษาประวัติศาสตร์นั้นมิได้เริ่มศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ตั้งแต่มนุษย์เริ่มใช้ตัวอักษรในการสื่อสาร 
        ฉะนั้นการคำนวณระยะเวลาเพื่อให้แม่นยำมากที่สุดต้องใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เช่นการสลายตัวของกัมมันตรังสี 
        หรือการนำสารคาร์บอนจากหลักฐานที่ต้องการตรวจสอบ ไปตรวจวัดด้วยเครื่องไอโซโทป อายุของหลักฐานชิ้นนั้นก็จะปรากฏให้เราทราบ ซึ่งเป็นที่นิยมของนักประวัติศาสตร์เพื่อแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ 
        การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ก็เพื่อให้เราศึกษาประวัติศาสตร์ได้สะดวกและง่ายขึ้น ทำให้เราเข้าใจว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นในช่วง ระยะเวลาใด 
        สามารถเชื่อมโยงเหตุการณ์ ที่ส่งผลตามมา นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดี ได้แบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ ตามหลักฐาน โดยแบ่งออกเป็น 2 สมัยดังนี้

1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์
2. สมัยประวัติศาสตร์
         
        การแบ่งเป็น 2 สมัยแบบนี้ใช้ตัวอักษรเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นเหตุการณ์ก่อนที่มนุษย์จะมีตัวอักษรใช้ในการสื่อสาร สมัยประวัติศาสตร์มนุษย์มีตัวอักษรใช้ในการสื่อสารแล้ว 

1. การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์แบบสากล
1.1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์
1.2. สมัยประวัติศาสตร์

2. การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ไทย
2.1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์
2.2. สมัยประวัติศาสตร์


1. ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร ์prehistory
          ประวัติศาสตร์ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์สมัยที่มนุษย์ ไม่มีตัวอักษรใช้ในการสื่อสาร การศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ในยุคนี้ ต้องศึกษาจากข้างของเครื่องใช้ เครื่องมือต่าง ๆ ของมนุษย์ที่ใช้ในการดำรงชีวิต โดยแบ่งเป็นสมัยต่าง ๆ ดังนี้
 1.1 ยุคหิน  Stone Age ระยะเวลาประมาณ 500,000-4,000 ปีมาแล้ว
1.1.1 ยุคหินเก่า  Palaeolithic หรือ Old Stone Age ระยะเวลาประมาณ 500,000-4,000 ปีมาแล้ว
  1.1.2 ยุคหินกลาง Mesolithic หรือ Middle Stone Age ระยะเวลาประมาณ 10,000-6,000 ปีมาแล้ว
  1.1.3 ยุคหินใหม่  Neolithic หรือ New Stone Age ระยะเวลาประมาณ 6,000-4,000 ปีมาแล้ว
1.2 ยุคโลหะ  Metal age ระยะเวลาประมาณ 4,000-1,500 ปีมาแล้ว
1.2.1 ยุคทองแดง Copper 5,000 BC - 2,500 BC
  1.2.2 ยุคสำริด Bronze 2,500 BC - 1,000 BC
  1.2.3 ยุคเหล็ก Iron 1,000 BC – 400 AD

2. ยุคสมัยประวัติศาสตร์ history
  2.1 ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ ระยะเวลาประมาณ 3,500 ปี ถึง พุทธศตวรรษที่ 10
  2.2 ประวัติศาสตร์สมัยกลาง ระยะเวลาประมาณ พุทธศตวรรษที่ 10 - 21
  2.3 ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ระยะเวลาประมาณ พุทธศตวรรษที่ 22- 24
  2.4 ประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน ระยะเวลา พุทธศตวรรษที่ 25


การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ไทย
        การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย ก็มีการแบ่งยุคคล้ายกับการแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์สากล โดยแบ่งออกเป็น
1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์
2. สมัยประวัติศาสตร์

1. ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ prehistory
          ประวัติศาสตร์ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์สมัยที่มนุษย์ ไม่มีตัวอักษรใช้ในการสื่อสาร การศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ในยุคนี้ ต้องศึกษาจากข้างของเครื่องใช้ เครื่องมือต่าง ๆ ของมนุษย์ที่ใช้ในการดำรงชีวิต โดยแบ่งเป็นสมัยต่าง ๆ ดังนี้
 1.1 ยุคหิน  Stone Age ระยะเวลาประมาณ 500,000-4,000 ปีมาแล้ว
1.1.1 ยุคหินเก่า Palaeolithic หรือ Old Stone Age ระยะเวลาประมาณ 500,000-4,000 ปีมาแล้ว
  1.1.2 ยุคหินกลาง  Mesolithic หรือ Middle Stone Age ระยะเวลาประมาณ 10,000-6,000 ปีมาแล้ว
  1.1.3 ยุคหินใหม่  Neolithic หรือ New Stone Age ระยะเวลาประมาณ 6,000-4,000 ปีมาแล้ว
1.2 ยุคโลหะ Metal age ระยะเวลาประมาณ 4,000-1,500 ปีมาแล้ว
1.2.1 ยุคทองแดง Copper 5,000 BC - 2,500 BC
1.2.2 ยุคสำริด Bronze 2,500 BC - 1,000 BC
1.2.3 ยุคเหล็ก Iron 1,000 BC – 400 AD

2. ยุคสมัยประวัติศาสตร์ history
          การแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์ในสมัยประวัติศาสตร์ของไทย ยึดตามประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ถือว่า ประมาณ พ.ศ. 800 เป็นช่วงเวลาสมัยประวัติศาสตร์ แต่โดยทั่วไปแบ่งตามระยะเวลาการใช้เมืองหลวงเรียกชื่อตามสมัย
2.1 ประวัติศาสตร์สมัยก่อนสุโขทัย ระยะเวลาประมาณ พ.ศ. 800 ปี ถึง พุทธศตวรรษที่ 18(พ.ศ.1792)
2.2 ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย ระยะเวลา ประมาณ พ.ศ. 1792 -2006
2.3 ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา ระยะเวลา พ.ศ. 1893 - 2310
2.4 ประวัติศาสตร์สมัยธนบุรี ระยะเวลา พ.ศ. 2310 - 2325
2.5 ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ ระยะเวลา พ.ศ. 2325 - ปัจจุบัน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ความสำคัญและหลักฐานทางประวัติาสตร์

  • 1 . วิธีการทางประวัติศาสตร์

วิธีการทางประวัติศาสตร์

        เฮโรโดตัส Herodotus บิดาแห่งประวัติศาสตร์ ได้นำคำว่า ประวัติศาสตร์ history มาจากคำในภาษากรีกว่า historeo ที่แปลว่า การถักทอ มาเขียนเป็นชื่อเรื่องราวการทำสงครามระหว่างเปอร์เซียกับกรีก โดยใช้หลักฐานต่าง ๆ เป็นข้อมูล ในการเขียนเป็นเรื่องราว ซึ่งคล้ายกับการถักทอผืนผ้าให้เป็นลวดลายที่ต้องการ เฮโรโดตัส Herodotus จึงเป็น นักประวัติศาสตร์คนแรก ที่นำหลักฐานทางประวัติศาสตร์ มาศึกษาเพื่อเขียนเป็นเรื่องราว อย่างไรก็ตาม การศึกษาเหตุการณ์ในอดีต อาจมีผู้สงสัยว่ามีทางเป็นไปได้หรือไม่และจะศึกษากันอย่างไร เนื่องจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ เป็นเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วและ บางเหตุการณ์เกิดขึ้นมานานมาก จนสุดวิสัยที่คนปัจจุบันจะจำเรื่องราวหรือศึกษาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง นักประวัติศาสตร์ ได้อาศัยร่องรอยในอดีตเป็นข้อมูลในการอธิบายเรื่องราวต่าง ๆที่เกิดขึ้นในอดีต ร่องรอยที่ว่านี้เรียกว่า หลักฐานประวัติศาสตร์  

วิธีการทางประวัติศาสตร

           การศึกษาประวัติศาสตร์ มีปัญหาที่สำคัญอยู่ประการหนึ่ง คือ อดีตที่มีการฟื้นหรือจำลองขึ้นมาใหม่นั้น มีความถูกต้องสมบูรณ์และเชื่อถือได้เพียงใด รวมทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ที่นำมาใช้ เป็นข้อมูลนั้น มีความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด เพราะเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์มีอยู่มากมายเกินกว่าที่จะศึกษาหรือจดจำได้หมด แต่หลักฐานที่ใช้เป็นข้อมูลอาจมีเพียงบางส่วน
          ดังนั้น วิธีการทางประวัติศาสตร์จึงมีความสำคัญเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ หรือผู้ที่จะเรียนรู้ประวัติศาสตร์จะได้นำไปใช้ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง ไม่ลำเอียง และเกิดความน่าเชื่อถือได้มากที่สุด

          ในการสืบค้น ค้นคว้าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ มีอยู่หลายวิธี เช่น จากหลักฐานทางวัตถุที่ขุดค้นพบ หลักฐานที่เป็นการบันทึกลายลักษณ์อักษร หลักฐานจากคำบอกเล่า ซึ่งการรวบรวมเรื่องราวต่างๆทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ เรียกว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์
            วิธีการทางประวัติศาสตร์ คือ การรวบรวม พิจารณาไตร่ตรอง วิเคราะห์และตีความจากหลักฐานแล้วนำมาเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ เพื่ออธิบายเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในอดีต ว่าเหตุใดจึงเกิดขึ้น หรือเหตุการณ์ในอดีตนั้นได้เกิดและคลี่คลายอย่างไร ซึ่งเป็นความมุ่งหมายที่สำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์



  • 2.ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์


ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์

ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย
          ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย เป็นขั้นตอนแรก นักประวัติศาสตร์ต้องมีจุดประสงค์ชัดเจนว่าจะศึกษาอะไร อดีตส่วนไหน สมัยอะไร และเพราะเหตุใด เป็นการตั้งคำถามที่ต้องการศึกษา นักประวัติศาสตร์ต้องอาศัยการอ่าน การสังเกต และควรต้องมีความรู้กว้างๆ ทางประวัติศาสตร์ในเรื่องนั้นๆมาก่อนบ้าง ซึ่งคำถามหลักที่นักประวัติศาสตร์ควรคำนึงอยู่ตลอดเวลาก็คือทำไมและเกิดขึ้นอย่างไร

ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล 
        หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ให้ข้อมูล มีทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร มีทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้น(ปฐมภูมิ) และหลักฐานชั้นรอง(ทุติยภูมิ)
        การรวบรวมข้อมูลนั้น หลักฐานชั้นต้นมีความสำคัญ และความน่าเชื่อถือมากกว่าหลักฐานชั้นรอง แต่หลักฐานชั้นรองอธิบายเรื่องราวให้เข้าใจได้ง่ายกว่าหลักฐานชั้นต้น
        ในการรวบรวมข้อมูลประเภทต่างๆดังกล่าวข้างต้น ควรเริ่มต้นจากหลักฐานชั้นรองแล้วจึงศึกษาหลักฐานชั้นต้น ถ้าเป็นหลักฐานประเภทไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ควรเริ่มต้นจากผลการศึกษาของนักวิชาการที่เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ก่อนไปศึกษาจากของจริงหรือสถานที่จริง
        การศึกษาประวัติศาสตร์ที่ดีควรใช้ข้อมูลหลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าผู้ศึกษาต้องการศึกษาเรื่องอะไร ดังนั้นการรวบรวมข้อมูลที่ดีจะต้องจดบันทึกรายละเอียดต่างๆ ทั้งข้อมูลและแหล่งข้อมูลให้สมบูรณ์และถูกต้อง เพื่อการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ

ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน
        วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์ คือ การตรวจสอบหลักฐานและข้อมูลในหลักฐานเหล่านั้นว่า มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานและวิพากษ์ข้อมูลโดยขั้นตอนทั้งสองจะกระทำควบคู่กันไป เนื่องจากการตรวจสอบหลักฐานต้องพิจารณาจากเนื้อหา หรือข้อมูลภายในหลักฐานนั้น และในการวิพากษ์ข้อมูลก็ต้องอาศัยรูปลักษณะของหลักฐานภายนอกประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานหรือวิพากษ์ภายนอก
        การวิพากษ์หลักฐาน (external criticism) คือ  การพิจารณาตรวจสอบหลักฐานที่ได้คัดเลือกไว้แต่ละชิ้นว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด แต่เป็นเพียงการประเมินตัวหลักฐาน มิได้มุ่งที่ข้อมูลในหลักฐาน ดังนั้นขั้นตอนนี้เป็นการสกัดหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือออกไปการวิพากษ์ข้อมูลหรือวิพากษ์ภายใน
        การวิพากษ์ข้อมูล (internal criticism) คือ การพิจารณาเนื้อหาหรือความหมายที่แสดงออกในหลักฐาน เพื่อประเมินว่าน่าเชื่อถือเพียงใด โดยเน้นถึงความถูกต้อง คุณค่า ตลอดจนความหมายที่แท้จริง ซึ่งนับว่ามีความสำคัญต่อการประเมินหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะข้อมูลในเอกสารมีทั้งที่คลาดเคลื่อน และมีอคติของผู้บันทึกแฝงอยู่ หากนักประวัติศาสตร์ละเลยการวิพากษ์ข้อมูลผลที่ออกมาอาจจะผิดพลาดจากความเป็นจริง 

ขั้นตอนที่ 4 การตีความหลักฐาน 
        การตีความหลักฐาน หมายถึง การพิจารณาข้อมูลในหลักฐานว่าผู้สร้างหลักฐานมีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร โดยดูจากลีลาการเขียนของผู้บันทึกและรูปร่างลักษณะโดยทั่วไปของประดิษฐกรรมต่างๆ เพื่อให้ได้ความหมายที่แท้จริงซึ่งอาจแอบแฟงโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม
        ในการตีความหลักฐาน นักประวัติศาสตร์จึงต้องพยายามจับความหมายจากสำนวนโวหาร ทัศนคติ ความเชื่อ ฯลฯ ของผู้เขียนและสังคมในยุคสมัยนั้นประกอบด้วย เพื่อทีจะได้ทราบว่าถ้อยความนั้นนอกจากจะหมายความตามตัวอักษรแล้ว ยังมีความหมายที่แท้จริงอะไรแฝงอยู่

ขั้นตอนที่ 5 การสังเคราะห์ข้อมูล
          ขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าจะต้องเรียบเรียงเรื่อง หรือนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่เป็นการตอบหรืออธิบายความอยากรู้ ข้อสงสัยตลอดจนความรู้ใหม่ ความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้านั้น
ในขั้นตอนนี้ ผู้ศึกษาจะต้องนำข้อมูลที่ผ่านการตีความมาวิเคราะห์ หรือแยกแยะเพื่อจัดแยกประเภทของเรื่อง โดยเรื่องเดียวกันควรจัดไว้ด้วยกัน รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กัน เรื่องที่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน จากนั้นจึงนำเรื่องทั้งหมดมาสังเคราะห์หรือรวมเข้าด้วยกัน คือ เป็นการจำลองภาพบุคคลหรือเหตุการณ์ในอดีตขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์และความต่อเนื่อง โดยอธิบายถึงสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และผล ทั้งนี้ผู้ศึกษาอาจนำเสนอเป็นเหตุการณ์พื้นฐาน หรือเป็นเหตุการณ์เชิงวิเคราะห์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการศึกษา

สรุปวิธีการทางประวัติศาสตร์
        วิธีการทางประวัติศาสตร์กับการศึกษาเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

ขั้นตอนของวิธีการทางปประวัติศาสตร์

1. การกำหนดประเด็นปัญหา
        เป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาเรื่องราวในอดีตที่น่าสนใจ เพื่อเป็นแนวทางที่จะนำไปสู่การค้นคว้าและสืบค้นข้อมูลต่างๆ

2. การรวบรวมหลักฐาน
        เป็นการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่มีอยู่อย่างหลากหลายและแตกต่างกัน เพื่อให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวที่ต้องการศึกษาค้นคว้า

3. การวิเคราะห์ การตีความและการประเมินหลักฐาน
        เป็นการตรวจสอบหลักฐาน โดยเน้นวิเคราะห์และตีความเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับมากที่สุด

4. การสรุปและเชื่อมโยงข้อเท็จจริง 
        เป็นการประมวลข้อมูลจากหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนและได้ข้อเท็จจริงที่สมบูรณ์

5. การนำเสนิข้อเท็จจริง
        นำเสนอข้อเท็จจริงที่ได้จากการศึกษามาเรียบเรียงและอธิบายอย่างสมเหตุสมผล โดยจะต้องบอกที่มาของหลักฐานหรือแหล่งข้อมูลอย่างถูกต้องและเปิดเผย เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้
        สมัยรัตนโกสินทร์เป็นสมัยที่มีเหตุการณ์ต่อเนื่องมาจากอดีตมาถึงปัจจุบันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยก่อนหน้านี้ ย่อมส่งผลกระทบมาจนถึงปัจจุบัน การศึกษาเหตุการณ์สำคัญ สามารถศึกษาจากหลักฐานที่เป็นเอกสารต่างๆ จำนวนมากเพื่อให้เข้าใจข้อมูลได้อย่างถูกต้องชัดเจน