รายวิชา ประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส22102 คุณครูผู้สอน คุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ข่าว

วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

11_พัฒนาการสมัยกรุงธนบุรี

การล่มสลายของอาณาจักรอยุธยา

กรุงศรีอยุธยาเป็นอาณาจักรของคนไทยเป็นระยะเวลายาวนาน 417 ปี (พ.ศ.1893-2310) พระมหากษัตริย์ผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยา คือ พระเจ้าอู่ทอง หรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 อาณาเขตของกรุงศรีอยุธยาแผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวางมากที่สุด ในรัชสมัยของพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ.2133-2148) อาณาจักรกรุงศรีอยุธยามีความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม การค้าขายและการเจริญไมตรีกับต่างประเทศ ในรัชสมัยของพระนารายณ์มหาราช(พ.ศ.2199-2231)

ความเสื่อมของอยุธยา
กรุงศรีอยุธยาเสียเอกราชให้แก่พม่า 2 ครั้ง ครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระมหินทราธิราชเมื่อพ.ศ.2112 และครั้งที่2 ในรัชสมัย สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) เมื่อ พ.ศ.2310

สาเหตุการเสื่อมอำนาจของกรุงศรีอยุธยา

ความเสื่อมอำนาจทางการเมือง มีการแก่งแย่งชิงอำนาจใหม่ในหมู่ขุนนางข้าราชการและพระบรมวงศานุวงศ์อยู่เนืองๆ มีการกำจัดศัตรูทางการเมือง ทำให้กำลังทหารถูกบั่นทอนความเข็มแข็งลงไปมาก
ความอ่อนแอของพระมหากษัตริย์ พระเจ้าเอกทัศน์ทรงขาดความสามารถในด้านการเป็นผู้นำ กองทหารไม่ได้รับการฝึกฝนให้เตรียมพร้อมในการทำศึกสงคราม และมีปัญหาวินัยหย่อนยาน
การที่ไทยว่างเว้นจากสงครามมาเป็นเวลานาน ทำให้เกิดความประมาทในการป้องกันพระราชอาณาจักร ขาดการฝึกปรือกำลังทัพและการวางแผนการยุทธที่ดี ทำให้เกิดความไร้ประสิทธิภาพในการทำสงครามป้องกันพระนคร เมื่อพม่ายกกำลังมาล้อมกรุงศรีอยุธยาก่อนจะเสียกรุงใน พ.ศ.2310
พม่าเปลี่ยนแผนยุทธศาสตร์ไปจากเดิม คือ ยกทัพกวาดต้อนผู้คน สะสมเสบียงอาหารลงมาจากหัวเมืองฝ่ายเหนือและขึ้นมาจากหัวเมืองฝ่ายใต้ ตัดขาดหัวเมืองรอบนอกมิให้ติดต่อและช่วยเหลือเขตราชธานีได้ และพร้อมที่จะรบตลอดทั้งปี โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นฤดูฝนหรือฤดูน้ำหลาก ซึ่งแผนยุทธศาสตร์นี้ต่างไปจากเดิมที่มักจะยกเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์และ เข้ามาทางเดียว และเมื่อถึงฤดูน้ำเหนือหลากลงมาท่วมก็ยกทัพกลับ ทำให้ไทยวางแผนการตั้งรับผิดพลาดหมด
กรุงศรีอยุธยาถูกปิดล้อมทางเศรษฐกิจโดยกองทัพพม่า ทั้งจากทางเหนือและใต้ รวมทั้งต้องทำศึกระยะยาวนานนับปี ทำให้กรุงศรีอยุธยาเกิดขาดแคลนเสบียงอาหารอันนำไปสู่ความอ่อนแอต่อกำลังทัพ และผู้คนของไทย

ในขณะที่ไทยกับพม่ากำลังทำสงครามอยู่นั้น พระยาตากเกิดความท้อใจในการรบ เพราะขาดความคล่องตัวในการตัดสินใจ และสถานการณ์รบที่อยุธยาอยู่ในวิกฤตอย่างหนัก ถ้าหนีไปตั้งหนักที่อื่นก็อาจมีโอกาสกลับมากอบกู้สถานการณ์ได้ ดังนั้นพระยาตากจึงรวบรวมกำลังพลได้ประมาณ 500 คน ตีฝ่าวงล้อมของพม่าไปเส้นทางตะวันออก

สาเหตุที่พระยาตากเลือกเส้นทางตะวันออก

เส้นทางดังกล่าวปลอดจากการคุกคามของพม่า ทำให้ง่ายต่อการสะสมและรวบรวมทั้งผู้คน อาวุธและเสบียงอาหาร
สามารถค้าขายบริเวณหัวเมืองชายทะเลทั้งด้านอาหาร อาวุธ กับพ่อค้าชาวจีนได้

การทำสงครามขับไล่พม่าออกจากกรุงศรีอยุธยา

หลังจากที่พระยาตากได้ตั้งตนเป็นใหญ่ที่ระยองและจันทบุรี และสะสมเสบียงอาหาร อาวุธ ผู้คนได้มากแล้ว จึงตัดสินใจยกทัพเรือจากจันทบุรีสู่อยุธยาเพื่อกอบกู้เอกราช โดยยกกองทัพเรือเข้ามาถึงสมุทรปราการ แล้ว พระยาตากนำกำลังกองทัพเรือเข้ายึดเมืองธนบุรี เมืองหน้าด่านที่พม่าให้นายทองอิน คนไทยรักษาอยู่ในเดือนพฤศจิกายน
พ.ศ.2310 ซึ่งได้รับชัยชนะโดยง่ายแล้ว พระยาตากก็ยกทัพตามโจมตีกองทัพพม่าไปจนถึงค่ายโพธิ์สามต้น ที่สุกี้พระนายกองของพม่ารักษาการณ์อยู่ และสามารถตีค่ายของพม่าแตก พร้อมทั้งขับไล่ทหารพม่าออกจากอยุธยาและยึดกรุงศรีอยุธยา คืนได้ภายในเดือนเดียวกัน รวมเวลาในการกอบกู้เอกราชเพียง 7 เดือน

พระยาตากปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์

เมื่อขับไล่พม่าออกไปจากกรุงศรีอยุธยาและกอบกู้เอกราชให้แก่คนไทยแล้ว พระยาตากได้เลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานี และปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 หรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โดยไม่ทรงเลือกกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีหรือเมืองหลวง

เหตุผลที่ไม่เลือกกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

 * ความเสียหายย่อยยับจากสงคราม ยากแก่การบูรณะปฏิสังขรณ์
มีอาณาเขตกว้างใหญ่เกินกำลังไพร่พลของพระเจ้ากรุงธนบุรีที่จะรักษา
ข้าศึกรู้เส้นทางเดินทัพ รู้สภาพภูมิประเทศของกรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างดี
ทำเลที่ตั้งอยู่ห่างไกลจากทะเลมากเกินไป ไม่สะดวกในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ

ความเหมาะสมของกรุงธนบุรีเป็นราชธานี

กรุงธนบุรีเป็นเมืองขนาดเล็ก เหมาะกับไพร่พลในขณะนั้น
ทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้ทะเล สะดวกแก่การค้าขายกับต่างประเทศ และสามารถเคลื่อนทัพเรือกลับสู่เมืองจันทบุรีได้สะดวก เมื่อถึงคราวคับขัน
มีป้อมปราการที่มั่นคงแข็งแรง คือ ป้อมวิไชยประสิทธิ์ และ
ป้อมวิไชยเยนทร์ใช้ป้องกันข้าศึกได้ดี
ความอุดมสมบูรณ์ของข้าวปลาอาหาร มีดินดี น้ำอุดมสมบูรณ์ จึงเป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญ
ที่ตั้งทางยุทธศาสตร์เป็นเมืองหน้าด่าน ควบคุมการเดินเรือทะเลที่เข้าออกปากอ่าวไทย จึงเท่ากับช่วยควบคุมหัวเมืองเหนือใต้ให้ต้องพึ่งกรุงธนบุรี ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการซื้ออาวุธจากต่างประเทศ                                                                                

การสร้างความเป็นปึกแผ่นทางการเมือง
         ภายหลังจากสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงสร้างความมั่นคง เป็นปึกแผ่นให้แก่ประเทศชาติ ดังนี้
 1. การสร้างขวัญและกำลังใจแก่ทหารและประชาชน
  • การปูนบำเหน็จแก่แม่ทัพนายกอง โดยเฉพาะสองพี่น้องผู้ที่เป็นกำลังสำคัญคือ พระราชวรินทร์ (ทองด้วง) และพระมหามนตรี(บุญมา)
  • การแก้ปัญหาปากท้องของประชาชน โดยการซื้อข้าวสารและเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มแจกจ่ายประชาชนที่อดอยากและขาดแคลนกระตุ้นให้ราษฏรที่หลบซ่อนตามป่าเขาให้กลับสู่มาตุภูมิลำเนาเดิม กำลังของบ้านเมืองจึงเพิ่มมากขึ้น

2. การฟื้นฟูบ้านเมืองให้กลับคืนสู่ปกติ
  •  * การรวบรวมกำลังคนให้เป็นกลุ่มเป็นก้อน สนับสนุนให้ผู้คนที่หลบหนีภัยสงครามตามท้องที่ต่างๆ ให้มารวมกันในราชธานี เพื่อประโยชน์ในการเกณฑ์กำลังคนในยามศึกสงครามและการก่อสร้างราชธานีใหม่
  • การฟื้นฟูทางเศรษฐกิจทรงส่งเสริมการค้าขายกับต่างประเทศ โดยเฉพาะการค้าทางเรือสำเภากับจีน มีพ่อค้าชาวจีนเข้ามาค้าขายในไทยมากกว่าชาติอื่นๆ นอกจากนี้ ยังทรงสนับสนุนให้ขุนนางคุมกำลังไพร่พลไปทำนารอบๆ พระนคร เพื่อเพิ่มผลผลิต
  • การฟื้นฟูทางสังคมมีการฟื้นฟูระบบไพร่ที่เคยมีในสมัยอยุธยาขึ้นใหม่ โดยการสักข้อมือไพร่ทุกกรมกองเรียกว่า กฏหมายสักเลก เพื่อประโยชน์ในการเกณฑ์แรงงานและการป้องกันประเทศ และป้องกันการหลบหนีของไพร่อีกด้วย

3. การปราบปรามชุมนุมคนไทย
เพื่อรวบรวมอาณาจักรคนไทยให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ภายหลังที่ทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว จึงทรงดำเนินการปราบปรามชุมนุมคนไทยที่ไม่ยอมอ่อนน้อมทั้ง 4 ชุมนุมในช่วงพ.ศ.2311-2313 ดังนี้
  • ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก กองทัพธนบุรียกกำลังไปปราบเป็นชุมนุมแรกแต่ไม่ประสบความสำเร็จ ต่อมาถูกชุมนุมพระฝางตีแตกและผนวกเข้ากับชุมนุมของตน
  • ชุมนุมเจ้าพิมาย
  • กรมหมื่นเทพพิพิธผู้นำชุมนุมไม่ยอมอ่อนน้อม จึงถูกกองทัพธนบุรีปราบ เป็นผลให้ดินแดนภาคอีสานตกอยู่ภายใต้อำนาจของราชธานีตั้งแต่นั้นมา
  • ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช
  • เจ้านครไม่สามารถต้านทานกำลังกองทัพบกและกองทัพเรือจากกรุงธนบุรีได้ อาณาเขตของกรุงธนบุรีจึงแผ่ขยายไปถึงหัวเมืองปักษ์ใต้
  • ชุมนุมเจ้าพระฝาง
        หัวหน้าชุมนุมเป็นพระสงฆ์ที่ทรงคุณไสยและเป็นชุมนุมสุดท้ายที่ปราบปรามสำเร็จในปี พ.ศ.2313 ทำให้ได้หัวเมืองเหนือไว้ในพระราชอาณาเขต
 4. การทำสงครามต่อต้านการรุกรานของพม่าตลอดสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานีไทยต้องทำสงครามกับพม่า เพื่อป้องกันเอกราชรวมถึง 9 ครั้ง ครั้งที่สำคัญที่สุดคือ ศึกอะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมืองเหนือ พ.ศ.2318
 5. การทำสงครามขยายอาณาเขตในสมัยกรุงธนบุรี กองทัพไทยยกไปตีกรุงกัมพูชาเป็นประเทศราชใน พ.ศ.2314 และหัวเมืองล้านนาและลาว ใน พ.ศ.2317

พัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจ
 1. ภาวะเศรษฐกิจตอนต้นรัชกาล
         สภาพบ้านเมืองในตอนต้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินต้องประสบปัญหาความตกต่ำทางเศรษฐกิจอย่างหนัก  ขาดแคลนข้าวปลาอาหาร การทำไร่ทำนาต้องหยุดชะงักเพราะภัยสงครามซ้ำเกิดการแพร่ระบาดของหนูนาออกมา กินข้าวในยุ้งฉาง สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงแก้ไขปัญหาดังนี้
  • การซื้อข้าวสารจากพ่อค้าชาวต่างชาติ นำมาแจกจ่ายให้ราษฏร
  • การเกณฑ์ข้าราชการทำนาปรัง (ทำนานอกฤดูกาล)และประกาศให้ราษฏรช่วยกันกำจัดหนูในนา
  • การเพิ่มพื้นที่ปลูกข้าวใกล้พระนคร โดยปรับปรุงพื้นที่ที่เคยเป็นป่าให้เป็นท้องนา

2 การวางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
เศรษฐกิจสมัยกรุงธนบุรี เป็นเศรษฐกิจแบบยังชีพ การทำนาเป็นอาชีพหลักของราษฏรในสมัยนั้น สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงวางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศดังนี้
             * การพัฒนาทางด้านเกษตรกรรม เพื่อเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอแก่การบริโภคภายในโดยการเกณฑ์แรงงานคนไทย จีน และเชลยศึกสงครามให้ช่วยบุกเบิกพื้นที่ทำไร่ทำนามากขึ้น
            * การสร้างความเข็มแข็งทางเศรษฐกิจในหัวเมือง เช่น สนับสนุนให้คนจีน คนลาวไปประกอบอาชีพตั้งถิ่นฐานในหัวเมืองต่างๆ เช่น สระบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ชลบุรีและจันทบุรี เป็นต้น เพื่อให้เกิดการขยายตัวของชุมชน
            * การนำความรู้ใหม่ๆ จากชาวต่างประเทศมาใช้พัฒนาความเจริญของบ้านเมืองโดยเฉพาะความรู้จากชาวจีน ที่เข้ามาค้าขายและตั้งถิ่นฐานในเมืองไทยสมัยนั้น เช่น ความรู้ในการค้าขาย การช่าง การต่อเรือ และการแปรรูปสินค้าเกษตรกรรม ทั้งกิจการโรงสี โรงเลื่อยจักรและโรงน้ำตาล เป็นต้น
         การส่งเสริมการค้าขายกับต่างประเทศ มีการส่งเรือสำเภาไปค้าขายยังประเทศจีน อินเดีย และประเทศใกล้เคียง สินค้าที่ส่งออก ได้แก่ ดีบุก พริกไทย ครั่ง ไม้หอม ซึ่งเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจของไทย

พัฒนาการทางด้านการเมืองการปกครอง
         การจัดระเบียบการปกครองของไทยสมัยธนบุรี ยังคงใช้รูปแบบเดิมที่เคยมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เนื่องจากบ้านเมืองกำลังอยู่ในระยะเริ่มฟื้นตัวใหม่ๆ จึงยังไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงใดๆ
 * การปกครองส่วนกลาง (ภายในราชธานี)มีอัครมหาเสนาบดี 2 ฝ่าย
  • -ฝายทหาร คือ สมุหกลาโหม
  • -ฝ่ายพลเรือน คือ สมุหนายก
นอกจากนี้ยังมีเสนาบดีจตุสดมภ์อีก 4 ฝ่าย ได้แก่ นครบาล(กรมเมือง),พระธรรมาธิกรณ์(กรมวัง),พระโกษาธิบดี(กรมคลัง)และพระเกษตราธิการ(กรมนา)
การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งหัวเมืองออกเป็น 3 ระดับ คือ หัวเมืองชั้นใน,ชั้นนอก และประเทศราช
  • -หัวเมืองชั้นใน เป็นเมืองขนาดเล็กอยู่รายรอบราชธานี เจ้าเมืองเรียกว่า ผู้รั้ง
  • -หัวเมืองชั้นนอก เป็นเมืองขนาดใหญ่และอยู่ห่างไกลจากราชธานีออกไปแบ่งออกเป็นหัวเมืองเอก โท ตรี ตามลำดับความสำคัญ
  • -หัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองต่างชาติต่างภาษาให้เจ้านายปกครองกันเองแต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย ได้แก่ ลาว เขมร และเชียงใหม่

พัฒนาการทางด้านศาสนา สังคมและวัฒนธรรม
 1. พัฒนาการทางด้านศาสนา
         หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยา บ้านเมืองอยู่ในสภาพบ้านแตกสาแหรกขาด ผู้คนต่างหนีเอาตัวรอด เมื่อพระเจ้าตากสิน ฯ ได้รวบรวมกำลังกู้เอกราชของชาติกลับคืนมาได้จนเป็นปึกแผ่นแล้ว ในปีเดียวกันนั้นคือปี พ.ศ. 2310 ก็ได้ทรงมีพระราชดำริที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ให้เจริญรุ่งเรืองเป็นปกติสุขเช่นที่เคยเป็นมาก่อน จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระศรีภูริปรีชา ให้สืบเสาะหาพระเถระผู้รู้อรรถรู้ธรรมให้มาประชุมกันที่ วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆษิตาราม) พระเจ้าตากสิน ฯ ได้ทรงตั้งพระอาจารย์ดี วัดประดู่กรุงเก่า ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้สูงและมีอายุพรรษามากด้วย ขึ้นเป็นพระสังฆราช และตั้งพระพระเถระอื่น ๆ ขึ้นเป็นพระราชาคณะฐานานุกรมน้อยใหญ่ เหมือนครั้งกรุงศรีอยุธยาให้สถิตอยู่ในพระอารามต่าง ๆ ในกรุงธนบุรี ให้สั่งสอนคันถธุระและวิปัสสนาธุระ แก่ภิกษุสามเณรโดยทั่วไป
        เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยา นอกจากบ้านเมือง ปราสาทราชวัง วัดวาอาราม จะถูกเผาพลาญโดยสิ้นเชิงแล้ว บรรดาคัมภีร์พระไตรปิฎกก็พลอยถูกเผาสูญหายหมดสิ้นไปด้วย พระองค์จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้สืบหารวบรวมคัมภีร์พระไตรปิฎกที่หลงเหลืออยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆ ตลอดไปจนถึงกรุงกัมพูชา แล้วเอามาคัดลอกสร้างเป็น พระไตรปิฎกฉบับหลวงไว้ แต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน

2. พัฒนาการด้านสังคมและวัฒนธรรม
โครงสร้างทางสังคมไทยสมัยธนบุรีประกอบด้วยชนชั้นต่างๆ ได้แก่
  • -พระมหากษัตริย์ เป็นผู้ที่มีพระราชอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน
  • -พระบรมวงศานุวงศ์ ได้แก่ ราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ บรรดาพระราชโอรสและพระราชธิดา
  • -ไพร่ ได้แก่ คนธรรมดาสามัญที่เป็นชายฉกรรจ์ ส่วนเด็ก ผู้หญิงหรือคนชราถือเป็นบริวารของไพร่
  • -ทาส หมายถึง บุคคลที่มิได้เป็นไทแก่ตนเองโดยสิ้นเชิง
  • -พระสงฆ์ เป็นผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา และเป็นผู้อบรมสั่งสอนคนในสังคมให้เป็นคนดี

        2.1 สภาพสังคมสมัยธนบุรี เนื่องจากบ้านเมืองตกอยู่ภาวะสงคราม ทางราชการจึงต้องควบคุมกำลังคนอย่างเข็มงวดเพื่อเตรียมสำหรับต้านภัยพม่า มีการลงทะเบียนชายฉกรรจ์เป็นไพร่หลวง โดยการสักเลกที่แขนเพื่อป้องกันการหลบหนี
         2.2 การฟื้นฟูพระพุทธศาสนา
สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมีความเสื่อมใส ศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง ทรงฟื้นฟูกิจการพระพุทธศาสนาเพื่อให้เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจแก่ราษฏร ดังนี้
 * การจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ โปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งพระสังฆราชและพระราชาคณะขึ้นปกครองคณะสงฆ์ และให้มีการชำระความบริสุทธิ์ของพระสงฆ์ทั้งหมด พระสงฆ์ที่มีการประพฤติไม่อยู่ในพระวินัยก็ให้สึกออกเสีย
การสร้างและปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ เช่น วัดบางยี่เรือใต้ (วัดอินทาราม) วัดแจ้ง(วัดอรุณราชวราราม)และวัดบางหว้าใหญ่(วัดระฆังโฆสิตาราม) เป็นต้น
*  การตรวจสอบและคัดลอกพระไตรปิฏก เพื่อให้พระธรรมวินัยมีความบริสุทธิ์ โดยใช้ต้นฉบับพระไตรปิฏกจากวัดพระมหาธาตุ เมืองนครศรีธรรมราช
         2.3 งานสร้างสรรค์ศิลปะและวรรณกรรม
 * ความเจริญรุ่งเรืองด้านศิลปแขนงต่างๆ ในสมัยธนบุรีไม่ปรากฏเด่นชัดนัก เนื่องจากบ้านเมืองตกอยู่ในภาวะสงครามตลอดรัชกาล ความบีบคั้นทางเศรษฐกิจและบรรดาช่างฝีมือถูกพม่ากวาดต้อนไปจำนวนมาก
งานสถาปัตยกรรม ส่วนใหญ่เป็นงานซ่อมแซมบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ และงานก่อสร้างพระราชวังเดิม
งานวรรณกรรม ได้แก่ รามเกียรติ์ (พระราชนิพนธ์บางตอนในสมเด็จพระเจ้าตากสิน),ลิลิตเพชรมงกุฏ (หลวงสรวิชิต),และโคลงยอพระเกียรติ์พระเจ้ากรุงธนบุรี(นายสวนมหาดเล็ก) เป็นต้น

3. ด้านการศึกษา
 * วัดเป็นสถานศึกษาของเด็กไทยในสมัยธนบุรี พระสงฆ์เป็นผู้สอนให้ความรู้ทั้งด้านหนังสือและอบรมความประพฤติ และเด็กชายเท่านั้นที่มีโอกาสได้เล่าเรียน
การเรียนวิชาชีพ เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ ซึ่งจะถ่ายทอดวิชาชีพตามบรรพบุรุษของตน เช่นวิชาช่างปั่น ช่างเหล็ก ช่างเงิน ช่างทอง เป็นต้น
การศึกษาสำหรับเด็กหญิง
มีการเล่าเรียนการเย็บปักถักร้อย การปรุงแต่งอาหารและวิชางานบ้านงานเรือนสำหรับกุลสตรี ซึ่งถ่ายทอดกันมาตามประเพณีโบราณ มีเฉพาะในหมู่ลูกหลานขุนนางและพระราชวงศ์ ส่วนวิชาหนังสือไม่นิยมให้ผู้หญิงเรียน

พัฒนาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

1.ความสัมพันธ์กับพม่า
 * ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าในสมัยกรุงธนบุรี ปรากฏอยู่ในรูปของความขัดแย้งและการทำสงคราม โดยไทยเป็นฝ่ายตั้งรับการรุกรานของพม่า หลังจากได้รับเอกราชมีการสู้รบกันถึง 9 ครั้ง (พ.ศ.2311-2319)ส่วนใหญ่พม่าเป็นฝ่ายปราชัยต้องถอยทัพกลับไป
สงครามไทยกับพม่าในสมัยธนบุรีครั้งสำคัญที่สุด คือ
ศึกอะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมืองเหนือ พ.ศ.2318 ครั้งนั้นเจ้าพระยาจักรี(ร.1)และเจ้าพระยาสุรสีห์สองพี่น้องได้ร่วมกัน ป้องกันเมืองพิษณุโลก
อย่างสุดความสามารถ แต่พม่ามีกำลังไพร่พลเหนือกว่าจึงตีหักเอาเมืองได้

2. ความสัมพันธ์กับกัมพูชา
 * สภาพการเมืองภายในกัมพูชาไม่สงบราบรื่น เจ้านายเขมรมักแตกแยกความสามัคคีและแย่งชิงอำนาจกันอยู่เนืองๆ บางกลุ่มนิยมไทยแต่บางกลุ่มฝักใฝ่กับฝ่ายญวน เมื่อไทยติดศึกกับพม่า เขมรมักตั้งตัวเป็นอิสระและคอยหาโอกาสซ้ำเติมไทยอยู่เสมอ
ไทยทำสงครามขยายอาณาเขตในดินแดนกัมพูชา รวม 3 ครั้ง กองทัพไทยยกไปตีกรุงกัมพูชาในสองครั้งแรก เมื่อพ.ศ.2312 และ พ.ศ.2314 เป็นผลให้กัมพูชาตกเป็นเมืองขึ้นของไทย
การจลาจลแย่งชิงอำนาจในหมู่เจ้านายเขมร ใน พ.ศ.2322 พระราชวงศ์เขมรแย่งชิงอำนาจกันเอง สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่1)ยกทัพไปควบคุมสถานการณ์แต่เกิดเหตุวุ่นวายในกรุงธนบุรี พระยาสรรค์ก่อกบฏ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก จึงต้องยกทัพกลับ

3. ความสัมพันธ์กับลาว
 * ไทยเป็นฝ่ายทำสงครามขยายอาณาเขตในดินแดนลาว 2 ครั้ง ครั้งแรกสงครามตีเมืองจำปาศักดิ์ พ.ศ.2319เกิดจากลาวก่อกบฏต่อไทย ชัยชนะของกองทัพกรุงธนบุรีครั้งนี้ ทำให้เมืองจำปาศักดิ์และหัวเมืองลาวตอนล่างตกอยู่ใต้อำนาจของไทยตั้งแต่บัดนั้น
สงครามตีเมืองเวียงจันทน์ พ.ศ.2321 เกิดความขัดแย้งระหว่างเสนาบดีกับเจ้าผู้ครองนครเวียงจันทน์ จึงโปรดเกล้าฯให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยกทัพไปปราบเป็นผลให้ลาวตกเป็น
ประเทศราชของไทยทั้งหมด แม่ทัพไทยยังได้อัญเชิญพระแก้วมรกดและพระบางมาไว้ที่ไทยด้วย
 4. ความสัมพันธ์กับอาณาจักรล้านนา
 * นครเชียงใหม่ ศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา นับตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา เชียงใหม่ต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของพม่าและไทยสลับกัน โดยพม่าใช้เชียงใหม่เป็นแหล่งสะสมเสบียงอาหารทุกครั้งที่ยกทัพมาตีไทย
กองทัพกรุงธนบุรียกไปตีเมืองเชียงใหม่ พ.ศ.2317 สามารถขับไล่พม่าออกไปได้สำเร็จ ล้านนาจึงตกอยู่ใต้อำนาจไทยอีกครั้ง

5. ความสัมพันธ์กับหัวเมืองมลายู
 * หัวเมืองมลายูตกเป็นเมืองประเทศราชของไทยมาตั้งแต่สมัยอยุธยา อันได้แก่ เมืองปัตตานี ไทรบุรี กลันตัน และตรังกานู ต่อมาเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกจึงแยกตัวเป็นอิสระ
กองทัพกรุงธนบุรีไม่พร้อมที่จะยกไปปราบ เนื่องจากหัวเมืองมลายูอยู่ห่างไกลเกินไป ตลอดรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงปล่อยให้เป็นอิสระ

เหตุการณ์ตอนปลายสมัยกรุงธนบุรี
 1. สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทรงมีสติฟั่นเฟือน สำคัญว่าพระองค์บรรลุเป็นพระอรหันต์และบังคับให้พระสงฆ์กราบไหว้
 2. พระยาสรรค์ ขุนนางผู้หนึ่งก่อกบฏ เมื่อ พ.ศ.2324 ยกกำลังเข้ายึดกรุงธนบุรีและคุมตัวสมเด็๋จพระเจ้าตากสินฯเอาไว้
 3. สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก กลับจากราชการสงครามที่เขมร เข้าปราบกบฏและควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ ที่ประชุมขุนนางพร้อมใจกันอัญเชิญให้ขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2325
 4.สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ถูกสำเร็จโทษ ในขณะนั้นทรงมีพระชนม์ 48 พรรษาและรวมเวลาครองราชย์ 15 ปี
  • อันตัวพ่อ ชื่อว่า พระยาตาก
  • ทนทุกข์ยาก กู้ชาติ พระศาสนา
  • ถวายแผ่นดิน ให้เป็น พุทธบูชา
  • แด่ศาสนา สมณะ พระพุทธโคดม
  • ให้ยืนยง คงถ้วน ห้าพันปี
  • สมณะพราหมณ์ ปฏิบัติ ให้พอสม
  • เจริญสมถะ วิปัสนา พ่อชื่นชม
  • ถวายบังคม รอยบาท พระศาสดา
  • คิดถึงพ่อ พ่ออยู่ คู่กับเจ้า
  • ชาติของเรา คงอยู่ คู่พระศาสนา
  • พระพุทธศาสนา อยู่ยง คู่องค์กษัตรา
  • พระศาสดา ฝากไว้ ให้คู่กัน

10_พัฒนาการทางด้านการเมืองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

พัฒนาการทางการเมืองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

รัชกาลที่ 1-3 (สมัยฟื้นฟูประเทศ พ.ศ.2325-2394)
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ.2325 และทรงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายราชธานีใหม่จากกรุงธนบุรีมายังฝั่งตะวันออก(ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้า พระยา)และสร้างกรุงเทพฯ เป็นราชธานีขึ้น ณ ที่แห่งนี้

เหตุผลที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ทรงย้ายราชธานี

พระราชวังเดิมของกรุงธนบุรีคับแคบ มีวัดขนาบอยู่ทั้งสองด้าน คือ วัดอรุณราชวราราม(วัดแจ้ง)และวัดโมฬีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) จึงยากแก่การขยายพระราชวัง
ความไม่เหมาะสมด้านภูมิประเทศ เนื่องจากฝั่งตะวันตกหรือราชธานีเดิมเป็นท้องคุ้ง อาจถูกน้ำกัดเซาะตลิ่งพังได้ง่าย แต่ฝั่งตะวันออก(กรุงเทพ)เป็นแหลมพื้นดินจะงอกอยู่เรื่อยๆ
ความไม่เหมาะสมในการขยายเมืองในอนาคต พื้นที่ฝั่งตะวันออกเป็นที่ราบลุ่มกว้างขวาง สามารถขยายตัวเมืองไปทางเหนือและตะวันออกได้
กรุงธนบุรีไม่เหมาะทางด้านทำเลที่ตั้งยุทธศาสตร์  กล่าวคือ มีแม่น้ำเจ้าพระยาผ่ากลาง เปรียบเสมือนเมืองอกแตก เมื่อใดข้าศึกยกทัพมาตามลำน้ำก็สามารถตีถึงใจกลางเมืองได้ง่าย

เมืองหลวงใหม่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
บริเวณ เมืองหลวงใหม่  เดิมเรียกว่า บางกอก หรือปัจจุบันคือกรุงเทพมหานครเป็นราชธานีใหม่ของไทย สร้างขึ้นโดยเลียนแบบอยุธยา กำหนดพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วนคือ

บริเวณพระบรมมหาราชวัง ประกอบด้วย วังหลวง วังหน้า วัดในพระบรมมหาราชวัง(วัดพระศรีรัตนศาสดาราม)และรวมทั้งทุ่งพระสุเมรุท้องสนามหลวง
บริเวณที่อยู่อาศัยภายในกำแพงเมือง อาณาเขตกำแพงเมือง ประตูเมือง และป้อมปราการสร้างขึ้นตามแนวคลองรอบกรุง ได้แก่ คลองบางลำภู และคลองโอ่งอ่าง
บริเวณที่อยู่อาศัยภายนอกกำแพงเมือง เป็นพื้นที่เกษตรกรรม มีบ้านเรือนราษฏรตั้งอยู่ด้านนอกของคลองรอบกรุง มีคลองขุดในรัชกาลที่ 1คือ คลองมหานาค

การปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ในสมัยรัชกาลที่ 1-3 พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ การจัดระเบียบการปกครองยังคงยึดถือตามแบบอย่างสมัยอยุธยาตอนปลาย มีดังนี้

การปกครองส่วนกลาง มีเสนาบดีทำหน้าที่บริหารราชการ ได้แก่
สมุหกลาโหม มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ ทั้งทหารและพลเรือน มียศและราชทินนามว่า เจ้าพระยามหาเสนา ใช้ตราคชสีห์ เป็นตราประจำตำแหน่ง
สมุหนายก มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ ทั้งกิจการทหารและพลเรือนเทียบเท่ากระทรวงมหาดไทยในปัจจุบัน มียศและราชทินนามว่า เจ้าพระยาจักรี หรือเจ้าพระยาบดินทร์เดชานุชิต ใช้ตราราชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่ง
เสนาบดีจตุสดมภ์ เป็นตำแหน่งรองลงมา ประกอบด้วย
-กรมเวียง หรือกรมเมือง เสนาบดี คือ พระยายมราช มีหน้าที่ดูแลกิจการทั่วไปในพระนคร
-กรมวัง เสนาบดี คือ พระยาธรรมา มีหน้าที่ดูแลพระราชวังและตั้งศาลชำระความ
-กรมคลังหรือกรมท่า เสนาบดี คือ พระยาราชภักดีพระยาศรีพิพัฒน์ หรือพระยาพระคลังมีหน้าที่ด้านการเงิน การคลัง และการต่างประเทศ
-กรมนา เสนาบดี คือ พระยาพลเทพ มีหน้าที่ดูแลไร่นาหลวง และเก็บภาษีข้าว
การปกครองส่วนภูมิภาค หรือการปกครองหัวเมือง
หัวเมืองฝ่ายเหนือ (รวมทั้งหัวเมืองอีสาน)อยู่ในความรับผิดชอบของสมุหนายก หัวเมืองฝ่ายเหนือแบ่งฐานะตามระดับความสำคัญ ดังนี้
-หัวเมืองชั้นใน(หัวเมืองจัตวา) อยู่ไม่ห่างไกลจากราชธานี มีเจ้าเมือง หรือ ผู้รั้งเป็นผู้ปกครอง
-หัวเมืองชั้นนอก(เมืองชั้นตรี โท เอก) มีขุนนางชั้นสูงหรือพระบรมวงศานุวงศ์เป็นผู้ปกครอง ได้แก่ เมืองพิษณุโลก นครสวรรค์ พิจิตร ฯลฯ
หัวเมืองฝ่ายใต้ อยู่ในความรับผิดชอบของสมุหกลาโหม นับตั้งแต่เมืองเพชรบุรีลงไปจนถึงนครศรีธรรมราช ไชยา พังงา ถลาง และสงขลา เป็นต้น มีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นนอกทั้งสิ้น
หัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออกของอ่าวไทย
เป็นหัวเมืองชั้นนอก ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ สาครบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ฯลฯ อยู่ในความรับผิดชอบของพระคลังหรือกรมท่า
การปกครองประเทศราช
ฐานะของประเทศราช คือ เมืองของชนต่างชาติต่างภาษา มีกษัตริย์ของตนเองเป็นผู้ปกครอง มีหน้าที่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามกำหนดและส่งทหารมาช่วยเมื่อเมืองหลวงมีศึกสงคราม
ประเทศราชของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีทั้งดินแดนล้านนา ลาว เขมรและหัวเมืองมลายู ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงแสน หลวงพระบาง เวียงจันทน์ จำปาศักดิ์ เขมร ปัตตานี ไทรบุรี กลันตัน ฯลฯ

การปรับปรุงกฏหมายและการศาล

กฏหมายตราสามดวง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯให้รวบรวมและชำระกฏหมายเก่าที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และคัดลอกไว้ 3 ฉบับ ทุกฉบับประทับตราคชสีห์ ราชสีห์ และตราบัวแก้ว จึงเรียกว่ากฏหมายตราสามดวง
กฏหมายตราสามดวง หรือประมวลกฏหมายรัชกาลที่ ใช้เป็นหลักปกครองประเทศมาจนถึงรัชกาลที่ 5ก่อนที่จะมีการปฏิรูปกฏหมายไทยและการศาลให้เป็นระบบสากล

9_การเมืองการปกครองยุคปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย

การเมืองการปกครองยุคปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก
การรับอารยธรรมตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ 4

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือรัชกาลที่ 4 ทรงมีโอกาสได้ศึกษาความรู้ในวิทยาการสมัยใหม่ของประเทศตะวันตก ตั้งแต่ในครั้งที่ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ โดยเฉพาะการศึกษา ภาษาละติน และภาษาอังกฤษ อีกทั้งมีโอกาสได้คุ้นเคยกับพ่อค้าชาวตะวันตก จึงทำให้ทรงทราบสถานการณ์ของโลกในขณะนั้นเป็นอย่างดี

แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เกี่ยวกับสถานการณ์ของโลกในขณะนั้น สรุปได้ 2 ประการ คือ

* ความเจริญก้าวหน้าในความรู้และวิทยาการของโลกตะวันตก เป็นสิ่งที่มีประโยชน์สำหรับบ้านเมือง จึงสมควรที่คนไทยจะได้เรียนรู้ไว้
* การเผชิญหน้ากับภัยจากลัทธิจักรวรรดินิยม ประเทศมหาอำนาจตะวันตกกำลังแผ่ขยายอิทธิพลเข้ารุกรานในอินเดีย จีน และพม่าสมควรที่ไทยต้องเร่งรีบปรับปรุงประเทศให้เข้มแข็งและเจริญก้าวหน้า เพื่อป้องกันมิให้ถูกบีบบังคับหรือข่มเหงเหมือนประเทศอื่นๆ

นโยบายของไทยที่มีต่อลัทธิจักรวรรดินิยม

ลัทธิจักรวรรดินิยม คือ การล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก มักจะเริ่มต้นด้วยการติดต่อเข้ามาค้าขายก่อน ต่อมาจึงอ้างความไม่เป็นธรรมที่ได้รับ หรือความล้าหลังด้อยพัฒนาความเจริญของประเทศนั้นๆ และใช้กำลังเข้าควบคุมหรือยึดครองเป็นอาณานิคมในที่สุด การใช้กำลังเข้าต่อสู้มีแต่จะตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบมากยิ่งขึ้น ดังนั้น รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 จึงทรงใช้พระบรมราโชบายเพื่อความอยู่รอดของประเทศชาติ ดังนี้

* การผ่อนหนักเป็นเบา หมายถึง การโอนอ่อนผ่อนตามให้ชาติมหาอำนาจเป็นบางเรื่อง คือการยอมทำสัญญาเสียเปรียบ จะเห็นได้จากการทำสนธิสัญญาเบาริง ระหว่างไทยกับอังกฤษ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบอยู่มาก
* การยอมเสียดินแดน สมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ไทยเสียดินแดนให้แก่อังกฤษและฝรั่งเศส ตามนโยบายเสียส่วนน้อย เพื่อรักษาส่วนใหญ่
* การปฏิรูปบ้านเมืองให้ทันสมัย
เพือมิให้มหาอำนาจตะวันตกใช้เงื่อนไขความล้าหลังด้อยพัฒนาของไทย เป็นข้ออ้างใช้กำลังเข้ายึดเป็นเมืองขึ้น และนำความเจริญมาสู่ชาวพื้นเมืองอาณานิคม เหมือนดังที่ทำกับทวีปแอฟริกา การปฏิรูปความเจริญของบ้านเมืองครั้งสำคัญเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ทั้งด้านการปกครอง กฏหมาย การทหาร ฯลฯ
* การเจริญไมตรีกับประเทศมหาอำนาจยุโรป
รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรปถึง 2 ครั้ง เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศมหาอำนาจตะวันตก ช่วยถ่วงดุลอำนาจมิให้ชาติใดชาติหนึ่งมาข่มเหงบีบคั้นไทย จึงเป็นวิธีการรักษาเอกราชอธิปไตยของชาติอีกทางหนึ่ง

การพัฒนาทางการเมืองในสมัยรัชกาลที่ 5

รัชกาลที่ 5 ทรงจัดตั้งสภาที่ปรึกษาเพื่อช่วยในการบริหารราชการแผ่นดินในปี 2417 ดังต่อไปนี้

* การจัดตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินจำนวน 12 คน ทำหน้าที่ถวายคำปรึกษาข้อราชการแผ่นดินแด่พระมหากษัตริย์
* การจัดตั้งสภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์ประกอบด้วยสมาชิก 99 คน ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาในพระองค์
* ในปี พ.ศ.2427(ร.ศ.103) ได้มีเจ้านายและขุนนางข้าราชการกลุ่มหนึ่งซึ่งได้รับการศึกษาตามแบบตะวันตก ได้เสนอคำกราบบังคมทูลความเห็นเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินแด่พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยชี้ให้เห็นว่าการจะรักษาเอกราชของชาติได้นั้น จะต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศให้เป็นแบบพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้ รัฐธรรมนูญ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นด้วย แต่ควรดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยจะต้องทำการปฏิรูปการปกครองเสียก่อน ดังนั้นในปี พ.ศ.2430 พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์โรปการเสด็จไปศึกษาและดูงานเกี่ยวกับการจัดตั้ง คณะเสนาบดีตามแบบยุโรปที่ประเทศอังกฤษและหลังจากนั้นไม่นานก็มีการปฏิรูปการ ปกครองขึ้นในประเทศไทย

การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5

* การปฏิรูปการปกครองส่วนกลาง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศจัดตั้ง เสนาบดีสภาและจัดตั้งกระทรวงแบบใหม่12 กระทรวง ได้แก่ กลาโหมนครบาลวังเกษตรพานิชการพระคลัง,การต่างประเทศยุทธนาธิการโยธาธิการธรรมการยุติธรรม ,มุรธาธิการ และมหาดไทย แทนจตุสดมภ์เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2435 หลังจากนั้นในวันที่ 1 เมษายน 2435 ทรงยุบกระทรวงที่ซ้ำซ้อนกันอยู่ทำให้เหลือกระทรวงเพียง 10 กระทรวง คือ มหาดไทย กลาโหม นครบาล วัง ต่างประเทศ พระคลังมหาสมบัติ โยธาธิการ ยุติธรรม ธรรมการ เกษตราธิการ
* การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาค พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงจัดการรวบรวมหัวเมืองตามชายแดนต่างๆ ขึ้นเป็นเขตการปกครอง เรียกว่า มณฑลโดยมีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองและขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งออกได้ดังนี้
การปกครองแบบเทศาภิบาล หลักการปกครองแบบนี้คือ รัฐบาลจะทำการปกครองหัวเมืองตั้งแต่ชั้นต่ำสุดถึงสูงสุด โดยเริ่มต้นจากพลเมืองเลือกผู้ใหญ่บ้าน และผู้ใหญ่บ้าน 10 หมู่บ้านมีสิทธิเลือกกำนันของตำบล ตำบลหลายๆ ตำบลมีพลเมืองประมาณ 10,000 คนรวมกันเป็นอำเภอ หลายอำเภอรวมกันเป็นเมือง และหลายเมืองรวมเป็นมณฑลโดยมีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ดูแล
การปกครองท้องที่ ในพ.ศ.2440 รัชกาลที่ 5 ทรงตราพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ สำหรับการจัดการปกครองระดับอำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน
การปกครองส่วนท้องถิ่น ทรงริเริ่มจัดการ สุขาภิบาลในเขตกรุงเทพ และตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อทดลองให้ประชาชนรู้จักการปกครองตนเองในระดับท้องถิ่น

ผลของการปฏิรูปการเมืองการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5

* ก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในราชอาณาจักร เป็นผลจากการปกครองส่วนภูมิภาคในรูปมณฑลเทศาภิบาล โดยมีศูนย์รวมอยู่ที่กรุงเทพ
* รัฐบาลไทยที่กรุงเทพฯ สามารถขยายอำนาจเข้าควบคุมพื้นที่ภายในพระราชอาณาจักรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
* ทำให้กลุ่มผู้สูญเสียผลประโยชน์จากการปฏิรูปการปกครองพากันก่อปฏิกิริยาต่อต้านรัฐบาล ดังจะเห็นได้จากกบฏผู้มีบุญทางภาคอีสาน ร.ศ.121 กบฏเงื้ยวเมืองแพร่ ร.ศ.121 และกบฏแขกเจ็ดหัวเมือง แต่รัฐบาลก็สามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้

การปฏิรูปการยุติธรรมและการศาล

* ในพ.ศ. 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพยายามริเริ่มปฏิรูปการศาลให้ดีขึ้น โดยการจัดตั้งศาลรับสั่งขึ้นตรงต่อพระองค์ เพื่อพิจารณาคดีความที่อยู่ในกรมพระนครบาล มหาดไทย กรมท่า เมื่อ รัชกาลที่ 5 ทรงรวมอำนาจศาลไปขึ้นกับส่วนกลาง ทำให้ค่าธรรมเนียมและรายได้ที่ขุนนางเคยได้ลดลง และไม่เปิดโอกาสให้ใช้อำนาจทางศาลในทางที่ผิดได้อีกต่อไป นอกจากนี้ยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกระทรวงยุติธรรมในพ.ศ.2435 ด้วยเพื่อพิจารณาคดีอาญาและคดีแพ่งตามแบบตะวันตก โดยมอบหมายให้  สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ซึ่งสำเร็จวิชากฏหมายจากประเทศอังกฤษเป็นผู้ดำเนินการ

การปฏิรูปการเมืองการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 6

* การเกิดกบฏ ร.ศ.130 ในปี ..2454 (..130) ซึ่งประกอบด้วยนายทหารและพลเรือน ซึ่งเรียกตัวเองว่า คณะพรรค ร.ศ.130 ต่อมาเรียกว่า ร.ศ.130 โดยมี ร.อ.เหล็ง ศรีจันทร์ (ขุนทวยหาญพิทักษ์) เป็นหัวหน้า สาเหตุสำคัญของกลุ่มกบฏนี้ คือ ต้องการให้ประเทศมีความเจริญก้าวหน้าโดยเปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากสมบูรณาญา สิทธิราชเป็นแบบประชาธิปไตย โดยกฏหมายรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการปกครองประเทศ แต่ต้องประสบกับความล้มเหลวในที่สุด
* การจัดตั้งดุสิตธานี เมืองจำลองประชาธิปไตย หลังเกิดกบฏ ร.ศ.130 รัชกาลที่ 6 ได้ตั้งเมืองจำลองประชาธิปไตยขึ้นชื่อว่าดุสิตธานี การปกครองในเมืองดุสิตธานีก็ดำเนินรอยตามแบบประชาธิปไตย คือ มีการเลือกตั้ง นครภิบาล” ซึ่งเปรียบได้กับ นายกเทศมนตรีนคราภิบาลจะต้องได้รับการเลือกตั้งจากเชษฐบุรุษมาก่อน เชษฐบุรุษ เปรียบได้กับ สมาชิกเทศบาล ซึ่งจะต้องได้รับการเลือกจาก ทวยนาคร” หรือปวงประชานั้นเอง

การปฏิรูปการปกครองในส่วนกลาง

* พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงจัดตั้งกระทรวงใหม่ คือ กระทรวงมุรธาธร กระทรวงทหารเรือ กระทรวงพาณิชย์และทรงยุบกระทรวงนครบาล และเปลี่ยนชื่อกระทรวงโยธาธิการเป็นกระทรวงคมนาคม ส่วนอำนาจหน้าที่ของกระทรวงต่างๆ ยังคงเหมือนกับสมัยรัชกาลที่ 5

การปรับปรุงการปกครองในส่วนภูมิภาค

* พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัดตั้งมณฑลเพิ่มขึ้น คือ มณฑลร้อยเอ็ด ซึ่งมี 3 หัวเมือง ได้แก่ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และกาฬสินธ์ และเพื่อเป็นการประหยัด พระองค์ได้รวมมณฑล2-3มณฑลรวมกันเป็นภาค เรียกว่า มณฑลภาค” เพื่อแบ่งเบาภาระของกระทรวง โดยให้ข้าราชการชั้นสูงเป็นอุปราชประจำมณฑลภาค งานใดที่มณฑลภาคสามารถจัดการได้ก็ไม่ต้องส่งถึงกระทรวง

การปรับปรุงการเมืองการปกครองสมัยรัชกาลที่ 7 ทรงมีแนวคิดแบบประชาธิปไตย ดังเห็นได้จากพระราชกรณียกิจดังต่อไปนี้

* ทรงแต่งตั้งอภิรัฐมนตรีสภา เพื่อเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน
* โปรดเกล้าฯให้อภิรัฐมนตรีสภา ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้ง สภากรรมการองคมนตรี” เพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาหารือขอราชการซึ่งพระราชทานลงมาให้ศึกษา และที่พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ปรึกษา
* ทรงจัดตั้งเสนาบดีสภา เพื่อเตรียมคนให้รับผิดชอบร่วมกันทั้งคณะให้เหมือนคณะรัฐมนตรีแบบตะวันตก เช่นเดียวกับเสนาบดีสภาในสมัย ร.5
* ทรงมอบหมายให้อภิรัฐมนตรีสภาวางรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปเทศบาล
*
พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีวิสารวาจา และนายเรย์มอนด์ บี.สตีเวนส์ คิดร่าง รัฐธรรมนูญ” ตามพระราชดำริ
แต่ขณะเดียวกันแนวพระราชดำริของรัชกาลที่ 7 ที่เตรียมการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อพระราชทานต่อปวงชนชาวไทยนั้น ได้รับการคัด ค้านจากอภิรัฐมนตรีสภา เพราะเกรงว่าประชาชนยังไม่พร้อม จึงทำให้การเตรียมการต้องชะงักลง เป็นผลให้คณะราษฏรเป็นผู้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองในที่สุด
heme.b�!t.m.�.�..��.n;mso-hansi-font-family:Calibri; mso-hansi-theme-font:minor-latin'>* การทำนุบำรุงด้านศิลปกรรมในสมัยรัชกาลที่ 2 รัชกาลที่ 2 ทรงสนพระทัยในเรื่องการก่อสร้างและตกแต่งตึกรามต่างๆ พระองค์โปรดเกล้าฯให้สร้าง “สวนขวา” ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ทรงริเริ่มสร้างพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม (แต่สร้างสำเร็จเรียบร้อยในสมัยรัชกาลที่ 3) พระปรางค์จะตกแต่งด้วยถ้วยและชามจีนซึ่งทุบให้แตกบ้าง แล้วติดกับฝาทำเป็นลวดลายรูปต่าง ๆ เช่น ดอกไม้ พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถทางด้านการแกะสลัก ดังจะเห็นได้จากประตูวัดพระเชตพนวิมลมังคลาราม ประตูวัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นต้น
รัชกาลที่ 2 โปรดการฟ้อนรำอย่างโบราณของไทยเป็นอันมาก ทั้งโขนและละคร ทรงปรับปรุงจังหวะและท่ารำต่างๆ โดยพระองค์เอง พระองค์โปรดให้มีพระราชนิพนธ์บทละครขึ้นใหม่ ทั้งที่เป็นเรื่องเดิมและเรื่องใหม่ หรือเอาเรื่องเดิมมาแต่งขึ้นใหม่ บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 มีทั้งหมด 7 เรื่อง เรื่องอิเหนา” เป็นเรื่องที่พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์เองตลอดทั้งเรื่อง ส่วนอีก 6 เรื่อง โปรดเกล้าฯ ให้กวีท่านอื่นๆ ร่วมงานด้วย

* การทำนุบำรุงด้านศิลปกรรมในสมัยรัชกาลที่ 3 การผลิตงานทางด้านศิลปะในสมัยรัชกาลที่ 3 จัดว่ามีลักษณะเยี่ยมยอดในวงการศิลปะของไทยไม่แพ้ในสมัยอื่น ในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงมุ่งซ่อมแซมและปรับปรุงปราสาทมากกว่าจะสร้างใหม่ โดยระมัดระวังรักษาแบบดั้งเดิมเอาไว้ พระองค์ทรงปฏิสังขรณ์และขยายเขตวัดวาอารามมากมาย ทรงสร้างวัดด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ขึ้น 5 วัด ให้เชื้อพระวงศ์และขุนนางสร้างอีก 6 วัด วัดสำคัญที่สร้างในสมัยนี้ได้แก่ วัดเทพธิดาราม,วัดราชนัดดา,วัดเฉลิมพระเกียรติ์,วัดบวรนิเวศวรวิหาร,วัดบวรสถาน,วัดประยูรวงศ์,วัดกัลยาณมิตร เป็นต้น สิ่งก่อสร้างมากมายที่เป็นตัวอย่างของสถาปัตยกรรมทางศาสนาของไทย เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ พระสถูป พระมลฑป หอระฆัง เป็นต้น โบสถ์และวิหารที่สร้างขึ้นมีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีหลังคาลาดเป็นชั้น มุงกระเบี้องสี ผนังก่ออิฐถือปูนประดับลวดลาย และมีเสาใหญ่รายรอบรับชายคา โบสถ์ขนาดใหญ่และสวยงามที่สร้างในรัชกาลนี้คือ โบสถ์วัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งสร้างแบบสามัญ ส่วนโบสถ์วัดบวรนิเวศวรวิหารสร้างเป็นแบบมีมุขยื่นออกมาทั้งสองข้างทางด้านปลาย

สถาปัตยกรรมแบบไทยอย่างอื่นๆ ที่มีความสำคัญรองลงมา คือ พระมณฑป ศาลา หอระฆัง และระเบียงโบสถ์ สิ่งก่อสร้างเหล่านี้มีอยู่สิ่งหนึ่งที่ก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 และเป็นงานที่ดีที่สุด คือ ระเบียงรอบพระวิหารที่วัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งมีหน้าบันแกะสลักไว้อย่างงดงาม

ผลงานทางสถาปัตยกรรมอีกอย่างหนึ่ง ที่ได้ก่อสร้างไว้บริเวณวัด และจัดอยู่ในจำพวกสิ่งก่อสร้างปลีกย่อยคือ เรือสำเภาซึ่งก่อด้วยอิฐ รัชกาลที่ 3 ทรงมีรับสั่งให้สร้างขึ้นเพื่อว่าในอนาคตเมื่อไม่มีการสร้างเรือสำเภากันอีก แล้ว ประชาชนจะได้แลเห็นว่าเรือสำเภานั้นมีรูปร่างลักษณะเป็นอย่างไร วัดที่พระองค์ทรงรับสั่งให้สร้างสิ่งอันเป็นประวัติศาสตร์นี้ คือ วัดยานนาวา

ในสมัยรัชกาลที่ 3 ภาพเขียนแบบไทยต่างๆ ส่วนมากไม่โดดเด่น ที่เขียนขี้นมาส่วนใหญ่เพื่อความมุ่งหมายในการประดับให้สวยงามเท่านั้น ส่วนงานช่างแกะสลักในสมัยรัชกาลที่ 3 ก็เกี่ยวข้องกับเรื่องราวทางพระพุทธศาสนามากกว่างานช่างในสาขาจิตรกรรม โดยเฉพาะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นเครื่องบันดาลใจอันสำคัญยิ่งที่ก่อให้เกิดผลงานทางด้านศิลปะประเภทนี้

ทางด้านวรรณกรรม รัชกาลที่ 3 ทรงสนับสนุนวรรณคดีทางศาสนาและประวัติศาสตร์ ดังเช่น หนังสือเรื่องมลินทปัญญา” เป็นต้น แต่ในสมัยนี้ไม่สนับสนุนให้มีการแสดงละครภายในพระบรมมหาราชวัง ทั้งยังไม่โปรดปรานนักแสดงหรือนักประพันธ์คนใดเลย

กล่าวโดยสรุป ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น การทำนุบำรุงและฟื้นฟูทางด้านศิลปวัฒนธรรมได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่รัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 3 และการทำนุบำรุงก็กระทำโดยวิธีรักษารูปแบบเดิมไว้ตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ในขณะเดียวกันก็เพิ่มเติมสิ่งใหม่ๆ ผสมผสานเข้าไปด้วย ทำให้ศิลปวัฒนธรรมของไทยในยุคนี้เจริญรุ่งเรืองมาก

สภาพสังคมและศิลปวัฒนธรรมในสมัยรัชกาลที่ 4

1. การปรับปรุงด้านสังคมในสมัยรัชกาลที่ 4
เนื่องจากในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นช่วงที่ไทยเริ่มปรับตัวทางด้านสังคมและวัฒนธรรมให้เข้ากับขนบธรรมเนียม ตะวันตกเท่าที่สามารถจะกระทำได้ ภายหลังจากที่ไทยได้ทำสัญญาทางพระราชไมตรีและการค้ากับชาติตะวันตก อย่างกว้างขวาง นับตั้งแต่ พ.ศ.2398 เป็นต้นมา รัชกาลที่ 4 ก็ทรงดำเนินการปรับปรุงทางด้านสังคมควบคู่ไปด้วย ดังนี้

* อนุญาตให้ไพร่เสียเงินแทนการถูกเกณฑ์แรงงาน เพื่อให้บรรดาไพร่ที่มีอยู่ใช้แรงงานของตนไปทำงานส่วนตัวได้
* ออกประกาศห้ามบิดามารดาหรือสามีขายบุตรภรรยาไปเป็นทาสโดยที่เจ้าตัวไม่สมัครใจ เพราะรัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่าไม่เป็นการยุติธรรมสำหรับเด็กและสตรี ถ้าจะต้องถูกบังคับในเรื่องดังกล่าว
* ให้สตรีที่บรรลุนิติภาวะแล้วมีสิทธิเลือกสามีได้ โดยบิดามารดาจะบังคับมิได้
* อนุญาตให้บรรดาเจ้าจอมกราบถวายบังคมลาไปอยู่ที่อื่น หรือไปแต่งงานใหม่ได้
* โปรดเกล้าฯ ให้สตรีในคณะผู้สอนศาสนาคริสต์เข้าไปสอนภาษาอังกฤษให้แก่สตรีในราชสำนักเป็นเวลาประมาณ 3 ปี
* ใน พ.ศ.2408 โปรดเกล้าฯ ให้นางแอนนา เลียวโนเวนส์ สตรีชาวอังกฤษเข้าไปเป็นครูสอนภาษาอังกฤษให้กับพระราชโอรสและธิดา โดยตั้งโรงเรียนขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพราะทรงเห็นความสำคัญของภาษาอังกฤษ ซึ่งจะใช้เป็นเครื่องมือในการปรับปรุงประเทศชาติต่อไปในอนาคต
* ทรง จัดส่งข้าราชการไปศึกษาและดูงานในต่างประเทศเพื่อจะได้นำความรู้และ ประสบการณ์ที่ได้รับมาปรับปรุงบ้านเมืองให้ทันสมัยดังเช่น ทรงส่งหวาด บุนนาค บุตรพระอภัยสงครามไปฝึกหัดวิชาทหารเรือ ส่งเนตร บุตรพระยาสมุทบุรารักษ์ไปเรียนภาษาอังกฤษที่ประเทศสิงค์โปร์ และส่งพร บุนนาค ไปเรียนที่ประเทศอังกฤษ เป็นต้น

2. การปรับปรุงทางด้านวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 4 (ยุคปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย)
ภายหลังจากที่ไทยได้ทำสนธิสัญญาเบาริง กับอังกฤษในปี 2398 แล้ว การติดต่อกับต่างประเทศ โดยเฉพาะกับชาติตะวันตกได้ดำเนินไปอย่างกว้างขวาง ส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมไทยเป็นอย่างมาก บางครั้งก็ทำให้วัฒนธรรมไทยเปลี่ยนแปลงตามแบบตะวันตก แต่บางครั้งก็มีการส่งเสริมให้วัฒนธรรมไทยแต่ดั้งเดิมดำรงอยู่ต่อไป

การส่งเสริมด้านศิลปะ ภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว ก็ทรงเปิดความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกอย่างกว้างขวาง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่องานทางด้านศิลปวัฒนธรรมของไทยอยู่บ้าง แต่ในขณะเดียวกัน การทำนุบำรุงและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของไทยก็เพิ่มพูนมากขึ้นไปด้วย

รัชกาล ที่ 4 ทรงซื้อและโปรดเกล้าฯ ให้ทำการต่อเรือกลไฟตามแบบตะวันตกหลายลำ เพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านการค้าขาย ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เรือจักรสำหรับเป็นเรือพระที่นั่ง แต่ในขณะเดียวกันก็ทรงรับเรือพายพระที่นั่งอันงดงามมาจากรัชกาลก่อนๆ นอกจากนี้ ยังโปรดเกล้าฯ ให้ต่อเรือขึ้นอีกลำหนึ่ง โดยพระราชทานนามว่า อนันตนาคราช” ที่หัวเรือทำเป็นพญานาคเจ็ดเศียร ซึ่งยังคงรักษาเป็นมรดกตกทอดมาจนถึงทุกวันนี้

สำหรับในพระบรมมหาราชวัง ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตึกขึ้นใหม่หลายอาคาร ทั้งแบบไทยและแบบฝรั่ง ทรงสร้างวัดขึ้นใหม่ 5 วัดในกรุงเทพ และโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแซมอีก 20 วัด นอกจากนี้ยังทรงสร้างวัดขึ้นใหม่ในต่างจังหวัดอีกด้วย เช่น ที่เพชรบุรีทรงสร้างวัดแบบไทย แต่พระราชวังที่ประทับซึ่งอยู่ใกล้ๆ กันกลับสร้างเป็นแบบฝรั่งและมีหอดูดาว ในกรุงเทพฯ ก็ทรงสร้างวังตามแบบศิลปะตะวันตก เช่น วังสราญรมย์ เป็นต้น

ใน สมัยรัชกาลที่ 4 นี้เอง โปรดเกล้าฯ ให้มีการก่อสร้างพระเจดีย์องค์ใหญ่ขึ้นครอบพระเจดีย์โบราณที่พระองค์เสด็จ ธุดงค์ไปพบเข้าที่นครปฐมเมื่อครั้งยังทรงผนวชอยู่ แต่การบูรณะก่อสร้างองค์พระปฐมเจดีย์ไม่ประสบผลสำเร็จในรัชกาลนี้ แต่เพิ่งมาประสบผลสำเร็จในรัชกาลที่ 5

3. การเปลี่ยนแปลงด้านประเพณีวัฒนธรรมที่สำคัญ มีดังนี้

* ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี   รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้ชาวต่างประเทศเข้าเฝ้าพระองค์ได้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกซึ่งไม่เคย ปรากฏมาในรัชกาลก่อนๆ กับทั้งยังทรงออกประกาศให้ทราบทั่วกันว่าในการเข้าเฝ้านั้น ชาวต่างประเทศสามารถแสดงความเคารพบต่อพระองค์ได้ตามธรรมเนียมประเพณีนิยมของ เขา เช่น ให้ชาวตะวันตกยืนตรงถวายคำนับได้ โดยไม่ต้องถูกบังคับให้หมอบกราบเหมือนดังที่พวกฑูตฝรั่งต้องปฏิบัติตอนเข้า เฝ้าพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อนๆ นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลี้ยงแก่ชาวต่างประเทศ พร้อมทั้งแจกของที่ระลึกอีกด้วย สำหรับคนไทยนั้นยังคงโปรดเกล้าฯ ให้หมอบกราบตอนเข้าเฝ้าต่อไปตามประเพณีนิยมเดิมของไทย แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลง คือ ทรงออกประกาศให้ข้าราชการสวมเสื้อในเวลามาเข้าเฝ้าทุกคน ทั้งนี้เพื่อมิให้ชาวต่างประเทศดูถูกข้าราชการไทยที่ไม่สวมเสื้อว่าเป็นคน ป่าเถื่อนดังแต่ก่อน
* การเรียกพระนามพระมหากษัตริย์ตามแบบยุโรป รัชกาลที่ 4 เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงวางระเบียบการเรียกพระนามพระเจ้าแผ่นดินให้แน่นอนตามประเพณีนิยมของยุโรป ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากประเพณีโบราณ พระนามพระเจ้าแผ่นดินที่จารึกใพระสุพรรณบัฏของรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 3 ว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชธิบดี” เหมือนกันทุกพระองค์ รัชกาลที่ 4 จึงโปรดเกล้าฯ ให้เรียกพระนามตามพระนามเดิมก่อนขึ้นครองราชย์ โดยให้จารึกพระสุพรรณบัฏเมื่อทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยตั้งต้นว่า พระบามสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏ” อันเป็นพระนามเดิมของพระองค์และลงท้ายว่า พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” ซึ่งคำว่าจอม” ก็มีความหมายมาจากคำว่า มงกุฏ” เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ราษฏรเรียกพระนามซ้ำกันแต่ก่อน ประเพณีการเรียกพระนามพระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์อย่างแน่นอนลงไปเป็นการเฉพาะพระองค์เช่นนี้ ได้กลายเป็นประเพณีสืบทอดปฏิบัติมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน
* การเปลี่ยนแปลงพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ตามประเพณีเดิม พระมหากษัตริย์จะประทับเป็นองค์ประธาน และให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการเป็นผู้ถือน้ำ และสาบานตนว่า จะซื่อสัตย์ต่อพระมหากษัตริย์แต่เพียงฝ่ายเดียว แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้ริเริ่มให้มีการเปลี่ยนแปลงที่ยุติธรรม คือ ให้พระมหากษัตริย์เสวยน้ำพระพิพัฒน์สัตยา และกระทำสัตย์ด้วยว่าจะทรงซื่อสัตย์ต่อราษฏรของพระองค์
* การจัดให้มีธงประจำชาติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นแบบอย่างการใช้ธงประจำชาติจากสถานกงสุลและเรือพาณิชย์ของชาติต่างๆ ในประเทศไทย พระองค์จึงทรงเห็นว่าประเทศไทยควรจะมีธงประจำชาติและธงอื่นๆ ด้วย จึงโปรดเกล้าฯ ให้นำธงสีแดงที่เคยใช้ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาใช้ โดยใช้พื้นธงเป็นสีแดงล้วนและมีช้างเผือกยืนอยู่ตรงกลาง นอกจากนี้พระองค์ยังโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐ์ธงประจำองค์พระมหากษัตริย์และธงประจำกองทัพขึ้นด้วย

สภาพสังคมและศิลปวัฒนธรรมในสมัยรัชกาลที่ 5

การปฏิรูปทางด้านสังคม

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงปฏิรูปสังคมให้ทันสมัยตามแบบตะวันตกอย่างกว้างขวาง ได้ทรงปฏิรูปสังคมให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก ซึ่งถือว่าเป็นการเจริญรอยตามพระบรมราโชบายของรัชกาลที่ 4 ที่ได้ทรงริเริ่มเอาไว้

การปฏิรูปสังคมที่สำคัญในสมัยรัชกาลที่ 5 คือ การเลิกทาส การเลิกระบบไพร่ และการปฏิรูปการศึกษา

1. การเลิกทาส
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงเตรียมแผนการในการเลิกทาสอย่างมีขั้นตอน ดังนี้

ใน พ.ศ.2417 ได้มีการประกาศให้ผู้มีทาสทำการสำรวจจำนวนทาสในครอบครองของตน ซึ่งจะเข้ามาอยู่ในข่ายของเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติที่จะออกมาในระยะไล่ เลี่ยกันนั้น เป็นการวางข้อกำหนดเพื่อการตระเตรียมการโดยให้ประชาชนได้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสะดวกในทางปฏิบัติตามแผนการขั้นต่อไป

ภายหลังการประกาศแผนการที่จะเตรียมการเลิกทาสใน พ.ศ.2417 และได้มีการสำรวจจดทะเบียนทาสที่เกิดตั้งแต่ปีมะโรง พ.ศ.2411 อันเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นต้นมาแล้ว ก็ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติกระเษียรลูกทาสลูกไท

ตามพระราชบัญญัตินี้ได้กำหนดแนวทาง ปฏิบัติที่สำคัญคือ ทาสคนใดถูกขายตัวเป็นทาส ถ้าเกิดใน พ.ศ.2411 และปีต่อๆ มาจนถึงอายุ 21 ปี ให้พ้นค่าตัวเป็นไทได้ ไม่ว่าทาสนั้นจะอยู่กับมูลนายเดิม หรือย้ายโอนไปอยู่กับเจ้าขุนมูลนายใหม่ก็ตาม ส่วนทาสที่เกิดก่อน พ.ศ.2411 ก็ยังต้องเป็นทาสต่อไปตามกฏหมายเดิม แต่ถึงแม้ว่าบุคคลที่เกิดตั้งแต่ พ.ศ.2411 เป็นต้นมา จะได้รับการปลดปล่อยตามเงื่อนไขเวลาที่กล่าวแล้วนั้น ต่อเมื่อถึง พ.ศ.2431 เป็นต้นไปก็ตาม ก็สามารถได้รับการไถ่ถอนให้พ้นจากความเป็นทาสได้ในราคาพิเศษที่ถูกกว่าทาส ซึ่งเกิดก่อน พ.ศ.2411

ใน พ.ศ.2448 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา พระราชบัญญัติทาษรัตนโกสินทร์ศก 124 ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้มีการกำหนดหลักการและวิธีการสำคัญๆ ในการปลดปล่อยทาส คือ กำหนดให้บรรดาลูกทาสที่เกิดมามิต้องตกเป็นทาสในเรือนเบี้ยดังแต่ก่อน และห้ามคนที่เป็นไทแก่ตัวและทาสที่หลุดพ้นค่าตัวกลับไปเป็นทาสอีก รวมทั้งให้มีการลดค่าตัวทาสลงเดือนละ 4 บาท ซึ่งะทำให้ทาสเป็นไทแก่ตัวเร็วขึ้น

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ พระราชบัญญัติทาษรัตนโกสินทร์ศก124 กับมณฑลพายัพอีกด้วย

จะเห็นได้ว่า พระบรมราโชบายการปลดปล่อยทาสให้เป็นอิสระแก่ตนของพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้วิธีดำเนินการเป็นขั้นตอน อาศัยเวลาเพื่อให้เกิดการปรับตัวพร้อมที่จะรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ของบรรดาเจ้าของทาส และผู้ที่ตกเป็นทาส อันจะทำให้เกิดการปลดปล่อยทาสดำเนินไปด้วยความสงบเรียบร้อย และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในระยะต่อมา ทั้งนี้เป็นเพราะความสุขุมรอบคอบของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยแท้

2. การยกเลิกระบบไพร่
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระบรมราโชบายในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปเช่นเดียวกับการเลิกทาส ทั้งนี้เพื่อมิให้เป็นการกระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์ที่บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางข้าราชการอาจได้รับจากระบบไพร่ การประวิงเวลาพอสมควรจะช่วยให้พระบรมราโชบายในการเลิกระบบไพร่ของพระองค์ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม

การเลิกระบบไพร่นั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำเนินการอย่างมีขั้นตอนดังนี้

* โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ใน พ.ศ.2413 โดยทรงเลือกจากบรรดาพระราชวงศ์และบุตรหลานขุนนางที่ได้ถวายตัวทั้งผู้ใหญ่ และเด็กเป็นจำนวนกว่าพันคนเข้ามาเป็นทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์
ใน พ.ศ.2423 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกรมทหารหน้า โดยการรับสมัครบรรดาไพร่ที่นายของตนตาย ให้เข้ามารับราชการเป็น ทหารสมัคร” จำนวนมาก โดยทรงพระราชทานเงินให้คนละ 4 บาท พร้อมผ้า 1 สำรับเป็นสินน้ำใจให้แก่ทหารสมัครทุกคน ต่อมาได้มีการแจกเครื่องแบบสักหลาดสีดำ 1 ชุด เงินเดือนๆ ละ 10 บาท รวมทั้งเลี้ยงอาหารวันละ 2 มื้อด้วย
* พ.ศ.2431 ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติทหาร” ซึ่งกำหนดสิทธิและหน้าที่ของพลทหารทั้งทหารบกและทหารเรือ พลทหารสมัครจะต้องรับราชการไปจนครบ 10 ปีจึงจะครบเกษียณอายุ แต่ถ้ายังสมัครรับราชการต่อไปทางราชการก็จะเพิ่มเบี้ยหวัดให้จากเงินเดือนตามอัตราเดิม คือเดือนละ 2 บาท ส่วนเบี้ยหวัดจ่ายปีละครั้ง เรียกว่า เงินปี” ส่วนในราชการพิเศษมีความดีความชอบก็จะได้รับรางวัลเป็นครั้งคราวไม่มีข้อกำหนด เรียกว่า เงินรางวัล
* ได้มีประกาศให้บรรดาไพร่หลวงที่ไม่มาเข้าเดือนประจำการต้องเสียเงินแทนค่าแรงงานปีละ 18 บาท ส่วนไพร่หลวงส่วยถ้าไม่ได้ส่งของ ต้องส่งเงินแทนตั้งแต่ 6-12 บาทตามชนิดของสิ่งของที่ต้องเกณฑ์ส่ง และตั้งแต่ พ.ศ.2440 เป็นต้นไป บรรดาไพร่หลวงที่ต้องเสียเงินค่าราชการปีละเกิน 6 บาทขึ้นไป ให้เก็บเงินค่าราชการเพียงปีละ 6 บาทเท่านั้น
* พ.ศ.2448 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหารรัตนโกสินทร์ศก 124โดยกำหนดให้ชายฉกรรจ์ที่มีอายุครบ 18 ปี เข้ารับราชการในกองประจำการมีกำหนด 2 ปี แล้วปลดไปอยู่ในกองหนุน ผู้ที่ได้รับราชการทหารในกองประจำการแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้นั้นพ้นจากการเสียเงินค่าราชการใดๆ จนตลอดชีวิต ดังนั้น พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหารรัตนโกสินทร์ศก 124 ฉบับนี้ จึงถือได้ว่าเป็นการยกเลิกระบบไพร่ที่มีมานานหลายศตวรรษโดยสิ้นเชิง
การยกเลิกระบบไพร่ในสมัยรัชกาลที่ 5 นับเป็นการปลดปล่อยคนไทยให้เป็นอิสระแก่ตนเองโดยสิ้นเชิง หลังจากที่ต้องเป็นคนในสังกัดมูลนายมาหลายศตวรรษ ทำให้สังคมไทยเริ่มเข้าสู่ความทันสมัยตามแบบตะวันตก

3. การปฏิรูปการศึกษา

สาเหตุของการปฏิรูปการศึกษา การที่รัชกาลที่ 5 มีดังนี้

* การคุกคามของลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก
* การได้รับอิทธิพลทางด้านสติปัญญา และความคิดตามแบบตะวันตกจากชาวยุโรปและอเมริกัน ที่มาเมืองไทยเพื่อทำการค้าและการเผยแผ่ศาสนา
* การเสด็จประพาสต่างประเทศของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทั้งในเอเซียและยุโรป ทำให้พระองค์ได้รับแนวความคิดในการจัดการศึกษาแบบใหม่เพื่อนำมาใช้ในประเทศไทย
* ทรงมีพระราชดำริที่จะใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือให้ผู้ที่พ้นจากการเป็นทาสนำไปใช้ในการยังชีพ
* ความจำเป็นที่ต้องอาศัยบุคคลที่ได้รับการศึกษาตามแบบแผนใหม่เข้ารับราชการเพื่อพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น

การดำเนินงานปฏิรูปการศึกษา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงความจำเป็นในการพัฒนาคนไทยให้มีความรู้วิทยาการแบบตะวันตก โดยเฉพาะในยามที่ประเทศไทยกำลังปฏิรูปประเทศให้ทันสมัย คนไทยที่มีความรู้ความสามารถในวิชาการสมัยใหม่จึงเป็นที่ต้องการของทาง ราชการ รัชกาลที่ 5 ได้ทรงเริ่มปฏิรูปการศึกษา โดยเริ่มจากในพระบรมมหาราชวังก่อน ทรงจัดตั้ง โรงเรียนหลวง” ใน พ.ศ.2414 มีสถานที่เล่าเรียนจัดไว้เฉพาะ มีฆราวาสเป็นครูและทำการสอนตามเวลาที่กำหนด วิชาที่สอนมีทั้งภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ และวิชาอื่นๆ ที่ไม่เคยสอนในโรงเรียนแผนโบราณมาก่อน และรับนักเรียนไว้เฉพาะเพื่อจะได้ฝึกหัดเล่าเรียน จะได้รู้หนังสือ รู้จักคิดเลขและขนบธรรมเนียมราชการให้ชัดเจน และในปีเดียวกันนั้น พระองค์ได้ทรงสถาปนาโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษขึ้นอีก เพื่อสอนภาษาอังกฤษให้แก่เจ้านายสำหรับใช้ประโยชน์ในการเจรจากับชาวต่าง ประเทศและผู้แทนของชาติมหาอำนาจตะวันตก

ใน พ.ศ.2425 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนนายทหารมหาดเล็กขึ้น เรียกว่า โรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก” หรือ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ในขั้นแรกมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ฝึกวิชาทหาร แต่เนื่องจากมีผู้นิยมส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนนี้มากขึ้น จึงทรงขยายโรงเรียนให้กว้างขวางออกไปและเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนพลเรือน” พร้อมกับเปลี่ยนแปลงให้มุ่งฝึกสอนนักเรี่ยนเพื่อการรับราชการพลเรือนเป็น สำคัญ ส่วนนักเรียนมหาดเล็กที่มีความประสงค์จะรับราชการพลเรือนเป็นนั้น เมื่อเรียนสำเร็จวิชาความรู้เบื้องต้นแล้วก็ให้แยกไปฝึกหัดวิชาทหารต่อไป

ในขณะที่มีการจัดตั้งโรงเรียนเพื่อผลิตคนออกมารับราชการตามความต้องการของบ้านเมืองในขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มิได้ทรงละเลยการศึกษาของราษฏร จะเห็นได้จากทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการตั้งโรงเรียนหลวงแห่งแรกขึ้นที่ วัดมหรรณพาราม” เมื่อได้ผลแล้วก็ได้ขยายการตั้งโรงเรียนหลวงตามวัดต่างๆ ให้ขยายออกไปตามลำดับทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมือง ปรากฏว่าการจัดการศึกษาของราษฏรนี้ วัดกับรัฐบาลได้ร่วมมือกันจัดการศึกษาอย่างใกล้ชิด

ต่อมาใน พ.ศ.2430 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง กรมศึกษาธิการ” ขึ้น เพื่อรับผิดชอบในด้านการศึกษาโดยเฉพาะ เช่น ควบคุมดูแลทางด้านการศึกษา การจัดตั้งโรงเรียน ดูแลเรื่องแบบเรียนหลวงและการสอบไล่ เป็นต้น โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงดูแลกรมศึกษาธิการ ต่อมาได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมธรรมการ” ขึ้นทำหน้าที่ด้านการศึกษาและพระศาสนาโดยเฉพาะ กรมธรรมการมีหน่วยงานที่สำคัญ คือ กรมธรรมการสังฆารี ,กรมศึกษาธิการกรมพยาบาล ,กรมแผนที่ และพิพิธภัณฑสถาน โปรดเกล้าฯ ยกฐานะกรมธรรมการขึ้นเป็นกระทรวงธรรมการ ทำหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบการศึกษาของชาติ และได้มีประกาศใช้แผนการศึกษาของชาติขึ้นเป็นครั้งแรก

การศึกษาที่จัดขึ้นในรัชกาลนี้ มีทั้งการศึกษาของเด็กชายและเด็กหญิง มีทั้งโรงเรียนหลวง โรงเรียนเชลยศักดิ์หรือโรงเรียนราษฏร์ในความหมายปัจจุบัน ผู้ที่มีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษานอกจากรัฐบาลและวัดแล้ว ยังมีพวกบรรดามิชชันนารีอเมริกันทั้งหญิงและชายซึ่งมีส่วนทำให้การศึกษาของ ไทยเจริญก้าวหน้าตามแบบตะวันตก เช่น ศาสตราจารย์ เอส.จี.แมคฟาร์แลนด์ เป็นผู้วางรากฐานการศึกษาตามแบบตะวันตกด้วยการตั้งโรงเรียนภาษาอังกฤษขึ้น ใน พ.ศ.2422 นายแพทย์ จี.บี.แมคฟาร์แลนด์ บุตรชายเป็นผู้วางรากฐานการศึกษาวิชาแพทย์แผนใหม่ นางแฮเรียต เอช.เฮาส์ เป็นผู้ริเริ่มการตั้งโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำสำหรับสตรีแห่งแรกของไทย เป็นต้น

โรงเรียนที่ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตคนเข้ารับราชการก็ขยายตัวไปอย่างแพร่หลายตามความต้องการของหน่วยงานต่างๆ เช่น โรงเรียนไปรษณียโทรเลย โรงเรียนทำแผนที่ โรงเรียนกฏหมาย โรงเรียนนายร้อย โรงเรียนฝึกหัดข้าราชการพลเรือน โรงเรียนเกษตร โรงเรียนราชแพทยลัย เป็นต้น พระองค์ทรงวางแผนให้กระทรวงมหาดไทยรับผิดขอบการจัดการศึกษาเบื้องต้น (ระดับประถมศึกษา) ให้กับทวยราษฏร์ทั่วราชอาณาจักร ส่วนกระทรวงธรรมการรับผิดชอบการจัดการศึกษาในชั้นที่สูงกว่า

นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังได้ทรงส่งพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้านาย พระบรมวงศานุวงศ์ และบุตรขุนนางที่ทรงเห็นสมควรไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ และได้ทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ตั้งเป็นทุนเล่าเรียนหลวง ส่งผู้ที่มีสติปัญญาดีที่เรียนภาษาอังกฤษจบพอสอบไล่แข่งขันไปศึกษาวิชาการ ณ ต่างประเทศ ปีละ 2 คน เพื่อนำความรู้มาทำประโยชน์ให้แก่บ้านเมืองต่อไป การสอบชิงทุนเล่าเรียนนี้ทรงเปิดโอกาสให้นักเรียนทั่วไปที่มีความรู้ความ สามารถโดยไม่เลือกชนชั้น ได้มีสิทธิ์เข้าสอบชิงทุนไปศึกษาต่อยังต่างประเทศเท่าเทียมกัน

การปฏิรูปการศึกษาในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยอย่างใหญ่หลวง เพราะการศึกษาเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาบุคคลทุกระดับให้มีความรู้ความเข้าใจ ต่อการปรับตัวเข้าสู่ความทันสมัยตามแบบตะวันตก

4 การปรับปรุงด้านสาธารณสุขและการแพทย์ การพัฒนาด้านสาธารณสุขได้เริ่มมาแล้วในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยมิชชันนารีอเมริกันเป็นผู้นำการแพทย์แผนใหม่เข้ามายังประเทศไทย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาการแพทย์ไทย คนไทยเริ่มรู้จักวิธีการปลูกฝึป้องกันโรคไข้ทรพิษ การผ่าตัดแบบตะวันตก การฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อ นอกจากนี้ พวกมิชชันนารียังจัดตั้งโรงพยาบาลขึ้นทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เช่น ที่เชียงใหม่ พิษณุโลก เพชรบุรี นครศรีธรรมราช เป็นต้น นับเป็นการปูพื้นฐานการแพทย์สมัยใหม่ให้แก่การแพทย์ไทยในสมัยต่อมา

ใน พ.ศ.2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้มีคณะกรรมการดำเนินงานจัดตั้งโรงพยาบาลขึ้น โดยก่อตั้งโรงพยาบาลศิริราชซึ่งเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกที่รัฐบาลก่อตั้งขึ้นใน กรุงเทพฯ และได้จัดให้มีการสอนวิชาแพทย์แผนปัจจุบันขึ้นที่โรงพยาบาลแห่งนี้ โดยคณะมิชชันนารีอเมริกันได้ให้ความช่วยเหลือทั้งในการด้านสอน และการรักษาพยาบาลอย่างเต็มที่ และได้จัดตั้งเป็นโรงเรียนราชแพทยาลัย โดยนายแพทย์ แมคฟาร์แลนด์ เป็นกำลังสำคัญในการจัดตั้ง เพื่อเปิดหลักสูตรฝึกอบรมนักเรียนแพทย์แผนใหม่จนเจริญก้าวหน้ามาถึงทุก วันนี้ นับว่าเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยให้มีพลานามัยสมบูรณ์ อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในด้านอื่นๆ

สังคมและวัฒนธรรมไทยในสมัยรัชกาลที่ 6

การปฏิรูปด้านสังคมและการศึกษา

เนื่องจาก สังคมไทยได้มีการปรับตัวเข้าสู่ความทันสมัยตามแบบตะวันตกมาตั้งแต่รัชกาลที่ 4 และจำเป็นจะต้องได้รับการพัฒนาทางด้านสติปัญญาของคนไทยอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นใน พ.ศ.2454 รัชกาลที่ 6 จึงทรงมีพระบรมราโชบายให้ผู้ปกครองส่งเด็กหญิงและเด็กชายที่มีอายุย่างเข้า 8 ปี เข้าเรียนในโรงเรียน นอกจากนี้ยังแบ่งโรงเรียนออกเป็น 2 ประเภท คือ

* การศึกษาขั้นต้น (มูลศึกษา) เป็นหน้าที่ของราษฏรทุกคนทั้งหญิงและชายจะต้องเรียนรู้ ดังนั้นควรมีสถานที่เรียนทุกตำบลเพื่อให้เพียงพอแก่จำนวนเด็ก
* การศึกษาขั้นสูงขั้นไป ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษาจัดให้ทวยราษฏร์ได้เลือกเรียนตามกำลังทรัพย์และสติปัญญา ซึ่งจะมีโรงเรียนตั้งไว้ในที่ชุมนุมชนเป็นแห่งๆ ตามความต้องการของท้องถิ่น

ใน พ.ศ.2456 รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดการศึกษาเพื่อหาเลี้ยงชีพในด้านอื่นๆ โดยเฉพาะความรู้ทางด้านหัตถกรรมและพาณิชยกรรม เป็นต้น ซึ่งนอกเหนือจากการเป็นเสมียน รวมทั้งส่งเสริมให้ราษฏรแสวงหาวิชาความรู้ในด้านนี้อย่างเด็ตที่ ดังนั้นรัฐบาลจึงได้จัดทำโครงการศึกษาฉบับใหม่

ในพ.ศ.2458 กระทรวงธรรมการได้ปรับปรุงโครงการศึกษาให้ทันสมัย และประกาศใช้ในปีเดียวกันนี้เอง ต่อมาภายหลังรัฐบาลได้ปรับปรุงโครงการศึกษาให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนมากขึ้น

ถึงแม้ว่าทางรัฐบาลจะได้พยายามปรับ ปรุงการศึกษา โดยจัดทำโครงการศึกษาของชาติมาแล้วหลายฉบับ แต่บิดามารดาและผู้ปกครองของเด็กเป็นจำนวนมากก็ยังไม่สนใจที่จะส่งเด็กใน อุปถัมภ์ของตนเข้าเรียน หรือถ้าเรียนก็เรียนเพียงครึ่งๆ กลางๆ ไม่เต็มหลักสูตรที่กำหนดไว้ เนื่องจากประชาชนยังไม่ตระหนักในประโยชน์และความจำเป็นของการศึกษาที่จะมี ต่ออาชีพอื่นๆ ต่อมาใน พ.ศ.2464 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงเห็นว่า ถึงเวลาอันสมควรแล้วที่จะออกพระราชบัญญัติบังคับการศึกษาแก่ราษฏร เพื่อให้การศึกษาระดับประถมศึกษาเจริญกว้างขวาง เป็นการยกระดับคนทั้งประเทศให้มีความรู้อย่างทั่วถึงกัน

รัชกาลที่ 6 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการร่างพระราชบัญญัติประถมศึกษาขึ้นและประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2464 โดยกำหนดให้เด็กชายหญิงทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 7-14 ปี ต้องเข้าเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา และถ้ายังอ่านเขียนไม่ได้ก็ต้องเรียนต่อไปจนกว่าจะอ่านออกเขียนได้

พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ.2464 ส่งผลให้ประชาชนทั้งประเทศเกิดความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน ไม่แตกต่างกันเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย สร้างความผสมผสานกลมกลืนในหมู่ชาวจีน ชาวไทยอิสลาม รวมทั้งประชาชนในมณฑลต่างๆ ที่มีภาษาถิ่นแตกต่างไปจากภาคกลาง ให้เกิดการรวมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน โดยใช้หลักสูตรและหนังสือแบบเรียนตามที่กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้กำหนดให้ เรียนเหมือนกันหมดทั่วระราชอาณาจักร ยกเว้นแต่หนังสือภาษาจีนหรือภาษาอิสลาม กระทรวงศึกษาธิการจะอนุญาตให้สอนเป็นบางโรงเรียนตามแต่จะพิจารณาเห็นสมควร

การส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทยสมัยรัชกาลที่ 6

ในสมัยรัชกาลที่ 6 พระองค์ทรงเชื่อว่าขนบธรรมเนียมประเพณีในสังคม ตลอดจนวัฒนธรรมในการแต่งกายเป็นเครื่องแสดงความเจริญก้าวหน้าของประเทศได้ทางหนึ่ง พระองค์จึงทรงเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านการแต่งกาย ชีวิตความเป็นอยู่ และระเบียบประเพณีในสังคมที่สำคัญๆ ดังนี้

* การจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช
ให้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 2 ครั้ง ครั้งแรกในปี 2453 ครั้งที่ 2 ในปี 2454 ครั้งหลังนี้เรียกว่า พระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภชเป็นงานฉลองที่โปรดเกล้าฯ ให้จัดอย่างมโหฬาร มีการแสดงโขนหลวงและละคร ณ โรงละครสวนมิสกวัน นับเป็นครั้งแรกที่มีผู้แทนประมุขและผู้แทนของประเทศต่างๆ มาร่วมถวายความยินดีในพระราชพิธีในครั้งนี้
* การประดิษฐ์ธงชาติใหม่
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงธงชาติใหม่ให้เหมาะสม 2 ครั้ง ครั้งแรก ในปี 2459 ครั้งที่ 2 ในปี 2460 ซึ่งเป็นระยะเวลาที่กองทหารอาสาไทยกำลังจะเดินทางไปร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธ มิตรในยุโรป เพื่อให้กองทัพไทยมีธงประจำชาติอย่างสมศักดิ์ศรี พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐ์ธงขึ้นใหม่มี 3 สี ตามแบบที่อารยประเทศส่วนใหญ่นิยมใช้อยู่ในขณะนั้น และพระราชทานนามธงชาติสามสีห้าริ้วนี้ว่า ธงไตรรงค์ ซึ่งเป็นธงสำหรับชาติไทยมาจนทุกวันนี้
* การกำหนดคำนำหน้าเด็กและสตรี
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดคำนำหน้าเด็กตามเพศว่า เด็กชายและเด็กหญิง ส่วนสตรีที่ยังเป็นโสด ให้ใช้คำนำหน้าว่า นางสาว และผู้ที่สมรสแล้วให้ใช้คำว่า นาง ตามแบบสากลนิยม

4. การตราพระราชบัญญัตินามสกุล
รัชกาลที่ 6 ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้นใช้ในปี 2456 โดยทรงใช้เหตุผลว่านามสกุลเป็นหลักของการสืบเชื้อสายต่อเนื่องกันทางบิดาผู้ ให้กำเนิด เป็นศักดิ์ศรี และแสดงสายสัมพันธ์ในทางร่วมสายโลหิตของบุคคล นอกจากนี้ นามสกุลยังก่อให้เกิดความเป็นหมู่คณะ ส่งเสริมความรัก ความสามัคคีระหว่างเครือญาติ ตั้งแต่คนชั้นสูงจนถึงชั้นต่ำ เป็นสิ่งกระตุ้นให้คนไทยรักความเป็นไทยและภูมิใจที่จะเกิดมาเป็นคนไทย มีบรรพบุรุษที่เป็นคนไทยและให้รักศักดิ์ศรีของความเป็นไทยตลอดไป

5. การใช้พุทธศักราชแทนรัตนโกสินทร์ศก
เนื่องจากรัตนโกสินทร์ศก หรือ ร.ศ. ซึ่งเคยใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ค่อนข้างยุ่งยากในการนับเวลาย้อนหลัง ดังนั้นในสมัยรัชกาลที่ 6 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ใช้พุทธศักราชหรือ พ.ศ. แทน ร.ศ. เพราะเป็นศักราชทางพระพุทธศาสนาที่คนไทยส่วนใหญ่นับถือกันอยู่ และให้ถือเอาวันที่ 1 เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ ทั้งนี้ตั้งแต่ปี 2456 เป็นต้นมา เช่นเดียวกับประเทศทางตะวันตกที่ใช้ศักราชทางศาสนาคริสต์ ที่คนส่วนใหญ่นับถือให้เรียกว่า คริสตศักราช หรือ ค.ศ.

6. การเปลี่ยนแปลงประเพณีการแต่งกาย
ในสมัยนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงขนบธรรมเนียมเกี่ยวกับสตรีประการหนึ่งคือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์บทความไปลงหนังสือพิมพ์ โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า อัศวพาหุ” พระองค์ทรงแนะนำให้สตรีทุกๆ ภาคไว้ผมยาวและนุ่งซิ่น ซึ่งสตรีไทยในกรุงเทพฯ และภาคกลาง ก็ทำตามพระราชประสงค์ ต่อมานิยมไปแต่งแบบฝรั่ง ซึ่งเราเรียกว่า แบบสากล

7. การเปลี่ยนแปลงวิธีการนับเวลา
แต่เดิมเรานับเวลาตอนกลางวันเป็นโมง และตอนกลางคืนเป็นทุ่ม ซึ่งไม่สอดคล้องกับการนับเวลาของประเทศอื่นๆ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการติดต่อกับต่างประเทศและเพื่อให้เป็นไปตามสากลนิยม พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนแปลงการนับเวลาทางราชการใหม่ ให้ถือเวลาหลังเที่ยงคืนเป็นวันใหม่ และให้เปลี่ยนวิธีเรียกระยะวเลา ทุ่ม” ในตอนกลางคืน โมง” ในตอนกลางวัน เป็น นาฬิกาโดยให้ถือเวลาที่ตำบลกรีนิช ประเทศอังกฤษ เป็นมาตรฐานในการนับเวลาดังเช่นนานาประเทศปฏิบัติ

8. การส่งเสริมด้านศิลปะและวรรณกรรม
รัชกาลที่ 6 ทรงสนพระทัยทางด้านวรรณคดีเป็นอย่างมาก ทรงเป็นกวีที่มีความสามารถพระองค์หนึ่ง ทรงแปลวรรณกรรมตะวันตกเป็นภาษาไทยหลาเรื่อง เช่น เวนิชวานิช แปลจากเรื่อง The Merchant of venice ของวิลเลี่ยม เชคสเปียร์ กุศโลบาย แปลจากเรื่อง A Royal Family ของโรเบิร์ต มาร์แขล (Robert Marshall) หมอจำเป็น แปลจาก เรื่อง Le Medicin Malgre Lui ของโมลิเออร์(Moliere) เป็นต้น

นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงพระราชนิพนธ์งานวรรณกรรมประเภทต่างๆ อีกหลายเรื่อง อาทิ ปรเภทบทละคร ได้แก่ หัวใจนักรบสาวิตรีศกุนตลามัทนะพาธาพระร่วงท้าวแสนปมปล่อยแก่ และหนามยอกหนามบ่ง ประเภทประวัติศาสตร์และโบราณคดี เช่น เที่ยวเมืองพระร่วง ประเทศไอยคุปต์ สงครามสืบราขสมบัติโปแลนด์ เป็นต้น ประเภทปาฐกถาและบทความเช่น ปลุกใจเสือป่า เทศนาเสือป่า ยิวแห่งบูรพาทิศ โคลนติดล้อ เมืองไทยจงตื่นเถิด เป็นต้น ประเภทร้อยกรองทั่วไป เช่น พระนลคำหลวง ลิลิตพายัพ ธรรมาธรรมะสงคราม เป็นต้น ประเภทสารคดี เช่น บ่อเกิดรามเกียรติ์ ปกิณกะคดี เป็นต้น และที่สำคัญพระองค์ทรงริเริ่มการแสดงละครพูดไทยแบบฝรั่งขึ้นมาเป็นครั้งแรก

นอกจากนี้ พระองค์ได้ทรงริเริ่มให้ใช้เงินที่เหลือจากการสร้างพระบรมรูปทรงม้าของพระ บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาจัดสร้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยทรงพระราชทานที่ดินของพระคลังข้างที่ให้เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเพื่อ ใช้เป็นแหล่งรวบรวมศิลปวิทยาการให้กับประชาชนชาวไทยมาจนทุกวันนี้

สภาพสังคมไทยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ถึงปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

สังคมไทยภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 สถานภาพของบุคคลในสังคมไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงไปดังนี้

1. สถาบันพระมหากษัตริย์ ถึงแม้ว่าพระมหากษัตริย์จะทรงดำรงฐานะเป็นองค์ประมุขของรัฐ แต่ก็ไม่ทรงสามารถใช้พระราชอำนาจสิทธิ์ขาดดังเช่นการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชได้อีกต่อไป เพราะพระองค์ทรงบริหาราชการแผ่นดินภายใต้รัฐธรรมนูญที่ผู้แทนของปวงขนชาวไทยเป็นผู้ร่างเอาไว้ และพระองค์ทรงใช้อำนาจบริหารโดยผ่านทางคณะรัฐมนตรี อำนาจนิติบัญญัติโดยผ่านทางสภาผู้แทนราษฏร และอำนาจตุลาการโดยผ่านทางผู้พิพากษา

2. พระบรมวงศานุวงศ์ บรรดา พระบรมวงศานุวงศ์ทั้งปวงถูกห้ามยุ่งเกี่ยวทางการเมือง ในช่วงเวลาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ๆ ชั่วระยะหนึ่ง เมื่อเหตุการณ์บ้านเมืองกลับคืนสู่สภาพปกติแล้วจึงได้รับอนุญาตให้มีสิทธิ เกี่ยวข้องทางการเมืองได้ เอกสิทธิ์ใดๆ ที่เคยได้รับในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชได้ยกเลิกโดยสิ้นเชิง และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์จะต้องปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามกฏหมายเข่นเดียว กับประชาชนคนธรรมดาโดยทั่วไป

3. ขุนนางข้าราชการ ยังคงมีบทบาทในการปกครองบ้านเมือง เพียงแต่ขุนนางข้าราชการรุ่นใหม่ที่ได้รับการศึกษาตามแบบตะวันตก และให้การสนับสนุนคณะราษฏรในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะราษฏรผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ก็ยังคงมีฐานะเป็นข้าราชการประจำเป็นส่วนใหญ่ ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น ฐานันดรและราชทินนามของขุนนางยังมิได้มีการยกเลิก แต่ขุนนางข้าราชการขุนนางทุกคนต้องปฏิบัติตามกฏหมายภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป

4. ราษฏรทั่วไป ราษฏรทั่วไป ต่างมีสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค ตามกฏหมายภายในบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และมีสิทธิเข้ารับราชการแผ่นดินตามความต้องการและความเหมาะสมกับความรู้ที่ ตนมีอยู่

การขยายตัวของกลุ่มนายทุนและสภาพความเป็นอยู่ของกรรมกร
สืบเนื่องมาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนมีเสรีภาพทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมมากขึ้นกว่าเดิม จึงมีผลทำให้สภาพทางสังคมเปลี่ยนแปลงไปภายใต้ระบอบรัฐธรรมนูญนับตั้งแต่ พ.ศ.2475 เป็นต้นมา ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในระยะแรกๆ ประชาชนจะยังขาดสิทธิเสรีภาพทางการเมือง แต่สิทธิเสรีภาพทางด้านอื่นๆ ยังคงดำเนินต่อไป เช่นเสรีภาพทางด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและสังคม ได้ทำให้ชนชั้นนายทุนมีบทบาทในการดำเนินงานทางด้านธุรกิจและการลงทุน

ชนชั้นนายทุนเหล่านี้มีทั้งชนชั้น เจ้านาย ข้าราชการระดับสูงซึ่งร่วมมือกับคนไทยเชื้อสายจีนในประเทศไทย และนักลงทุนชาติอื่น ๆ ที่เข้ามาดำเนินธุรกิจการลงทุนในประเทศไทย ในขณะเดียวกันชาวไร่ชาวนา ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงมีสภาพยากจน เพราะขายผลผลิตได้ในราคาต่ำและบางครั้งก็ประสบการขาดทุนเนื่องจากถูกพ่อค้า คนกลางเอารัดเอาเปรียบ

ภายหลังจากที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้กระทำการรัฐประหารในปี 2501 แล้ว จอมพลสฤษดิ์ได้มีนโยบายส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศอย่างกว้างขวาง ได้มีโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นอย่างมากมาย โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมทอผ้าและเส้นใยต่างๆ โรงงานเหล่านี้ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง เช่น ปทุมธานี สมุทรปราการ นครปฐม เป็นต้น

นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้วางโครงการการตัดถนนเชื่อมต่อกันระหว่างจังหวัด เพื่อสะดวกต่อการขนส่งวัตถุดิบและสินค้า ทำให้กิจการอุตสาหกรรมขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง ในขณะเดียวกันบรรดาชาวนาชาวไร่ที่ไม่สามารถทนต่อการเอารัดเอาเปรียบของพ่อค้าคนกลางและนายทุนเงินกู้ได้ ประกอบกับสภาพดินฟ้าอากาศไม่อำนวยต่อการเพาะปลูกพืชผล ต่างพากันอพยพเข้ามาหางานทำในเมืองหลวง และตามหัวเมืองต่างๆ ที่มีโรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่ คนเหล่านี้จะเข้ามารับจ้างเป็นกรรมกรในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ได้อย่างมากมาย

เมื่อผู้คนอพยพเข้ามาอยู่ในกรุงเทพมหานครและหัวเมืองใกล้เคียงมากขึ้น ทำให้ค่าแรงงานถูกกดราคาจากเจ้าของโรงงาน กรรมกรได้รับค่าแรงต่ำไม่พอกับการดำรงชีวิตในเมือง จึงต้องประสบกับความเดือดร้อนในเรื่องความเป็นอยู่ อาหารการกิน และที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นปัญหาสังคมติดตามมา

ในขณะเดียวกัน รัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ได้มีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่างแข็งขัน จึงให้การสนับสนุนรัฐบาลของสหรัฐอเมริกาทำสงครามต่อต้านคอมมิวนิสต์ในอินโด จีน มีผลทำให้เศรษฐกิจของไทยเริ่มเฟื่องฟูขึ้น อันเป็นผลมาจากการให้ความช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกาและการใช้จ่ายเงินเพื่อ การสร้างฐานทัพสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย ขณะเดียวกัน ทหารอเมริกันในประเทศไทยก็ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมแก่สังคมไทย ซึ่งเคยดำรงอยู่อย่างสงบมาก่อน ทั้งนี้เพราะวัฒนธรรมบางประการของทหารอเมริกัน เป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น การแพร่หลายของยาเสพย์ติดประเภทกัญชาและเฮโรอีน การลำส่อนทางเพศอันเป็นผลมาจากการให้บริการทางเพศแก่ทหารอเมริกัน การขยายตัวของอาชีพ เมียเช่า” สำหรับทหารอเมริกัน เป็นต้น

การเรียกร้องความเป็นธรรมในสังคมในสังคม
ภายหลังกรณีวันมหาวิปโยคเมื่อ 14 ตุลาคม 2516 ประชาชนเริ่มตื่นตัวในทางการเมือง และรู้จักรวมตัวกันเพื่อต่อรองผลประโยชน์กับกลุ่มผลประโยชน์อื่นๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคภายใต้บทบัญญัติแห่งกฏหมาย ทำให้ชาวนา ชาวไร่ กรรมกร รวมตัวกันต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคภายใต้บทบัญญัติแห่งกฏหมาย ทำให้ชาวนา ชาวไร่ กรรมกร รวมตัวกันต่อสู่เพื่อให้ได้ความเป็นธรรมในการประกอบอาชีพ และการดำเนินชีวิตในสังคม โดยมีขบวนการกลุ่มนิสิต นักศึกษา และปัญญาชนอื่นๆ ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือสนับสนุนการชุมนุมเพื่อเรียกร้องสิทธิ การเดินขบวน การนัดหยุดงาน จึงกลายเป็นวิธีการต่อสู้เพื่อให้ได้มา ซึ่งความเป็นธรรมในสังคมของชาวไร่ ชาวนา กรรมกร นิสิต นักศึกษา ตลอดจนปัญญาชนที่สนใจในปัญหาของสังคม

รัฐบาลเกือบจะทุกรัฐบาลที่ได้เข้า มาบริหารประเทศภายหลังวันมหาวิปโยคเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ล้วนแต่เล็งเห็นความสำคัญในการยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของชาวไร่ชาวนาในชนบท รวมทั้งกรรมกรที่อยู่ในเมืองด้วย ดังจะเห็นได้จากนโยบายประกันราคาข้าวเปลือก นโยบายการปฏิรูปที่ดินให้กับชาวนาผู้ยากจนได้มีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง การพัฒนาแหล่งน้ำให้กับเกษตรกรในชนบท การประกันค่าแรงขั้นต่ำให้กรรมกร การให้การสงเคราะห์ทางด้านการรักษาพยาบาลแก่ผู้มีรายได้น้อย เป็นต้น นโยบายต่างๆ เหล่านี้มุ่งที่จะลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนในสังคมให้น้อยลง แต่เนื่องจากประเทศไทยกำลังอยู่ในระยะของการพัฒนา ดังนั้นปัญหาทางด้านสังคมก็คงจะมีอยู่ต่อไป แต่จะมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับว่าเราสามารถยกระดับความเป็นอยู่ของคนส่วน ใหญ่ให้สูงขึ้นมากน้อยเพียงใด

วัฒนธรรมไทยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ถึงปัจจุบัน

ภายหลังจากที่คณะราษฏรได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 แล้ว งานทางด้านศิลปวัฒนธรรมแห่งชาติก็มิได้ถูกทอดทิ้งแต่ประการใด เพราะเรื่องของศิลปและวัฒนธรรมย่อมมีความจำเป็นต่อการดำเรงอยู่อย่างมีเอกภาพของคนในชาติ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านวัฒนธรรมที่สำคัญภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาจนถึงยุคปัจจุบัน มีดังนี้

1. นโยบายวัฒนธรรมสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งแรก (พ.ศ.2481-2487) ประเทศไทยได้เกิดการสู้รบกับฝรั่งเศสในปัญหาดินแดนอินโดจีน ซึ่งไทยถูกบีบบังคับให้ยกให้ฝรั่งเศสไปในสมัยรัชกาลที่ 5 และไทยถูกบีบบังคับให้ยกให้ฝรั่งเศสไปในสมัยรัชกาลที่ 5 และไทยได้ขอคืนแต่ฝรั่งเศสเพิกเฉย จอมพล ป.จึงได้ใช้นโยบายชาตินิยมเร่งเร้าให้คนไทยเกิดความรักชาติอย่างรุนแรง โดยถือหลัก เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย

วิถีชีวิตของคนไทยเริ่มมีการเปลี่ยน ปลงอย่างเต็มที่ได้ขัดเป็นครั้งแรกเมื่อมีการดำเนินนโยบายสร้างชาติทาง เศรษฐกิจ และส่งเสริมความเป็นไทยให้เด่นชัดขึ้น ด้วยการสร้างชาติทางวัฒนธรรม ทั้งนี้เพื่อให้ประเทศไทยมีความเจริญทัดเทียมกับอารยประทเศอื่นๆ ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมไทยหลายอย่างดังนี้

* การเปลี่ยนชื่อประเทศ
จอมพล ป.ได้ประกาศให้เปลี่ยนชื่อประเทศจาก สยาม มาเป็น ไทย ตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2482 และให้ใช้คำว่า ไทย” แก่ประชาชนและสัญชาติด้วย คือ คนไทยและสัญชาติไทย
* การยกเลิกบรรดาศักดิ์และยศข้าราชการพลเรือน
ใน พ.ศ.2584 จอมพล ป.ประกาศยกเลิกบรรดาศักดิ์และยศข้าราชการพลเรือน ใน พ.ศ.2484 จอมพล ป.ประกาศยกเลิกบรรดาศักดิ์และยศข้าราชการพลเรือนซึ่งมีมาแต่โบราณเสีย แต่เมื่อ นายควง อภัยวงศ์ เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ใน พ.ศ.2487 มีความเห็นว่าบรรดาศักดิ์เป็นสิ่งที่เชิดหน้าชูบุคคลที่ทำความดีความชอบต่อ ทางราชการ ควรคงไว้เพื่อความภาคภูมิใจ และเป็นแบบอย่างแก่บุคคลรุ่นหลัง ดังนั้นจึงได้มีพระบรมราชโองการให้คำประกาศยกเลิกบรรดาศักดิ์เป็นโมฆะ และให้ผู้ที่ลาออกจากบรรดาศักดิ์ด้วยความจำใจของคืนบรรดาศักดิ์ได้
* การกำหนดระเบียบต่างๆ ในการดำเนินชีวิตของคนไทย
แต่เดิมคนไทยส่วนใหญ่ดำรงชีวิตอย่างง่ายๆ ตามแบบสังคมเกษตรกรรม รัฐบาลจอมพล ป. พยายามที่จะจัดระเบียบการดำเนินชีวิตของคนไทยให้เป็นแบบอารยประเทศตามคติความคิดของรัฐบาล ด้วยการประกาศรัฐนิยมฉบับต่างๆ เพื่อชักชวนให้ราษฏรปฏิบัติตามระเบียบที่ทางการกำหนด เช่น ระเบียบการบริโภคอาหาร ก็จะให้ชาวไทยใช้ช้อนส้อมในการรับประทานอาหารแทนการใช้มือ เป็นต้น
นอกจากนี้ รัฐบาลยังห้ามประชาชนกินหมากอย่างเด็ดขาด เพราะเห็นว่าผู้ที่กินหมากเป็นผู้ไม่มีวัฒนธรรมในสายตาของชาติที่เจริญแล้ว รัฐบาลเข็มงวดกวดขันในเรื่องนี้มาก ถึงกับให้คณะกรรมการจังหวัดแต่ละแห่งจัดการห้ามการทำสวนพลู ปลูกต้นพลู รวมทั้งมิให้ขายพลูที่ตลาดด้วย
* การแต่งกาย   รัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงครามได้ชักชวนให้คนไทยเลิกนุ่งกางเกงแพร โดยอ้างว่าเป็นวัฒนธรรมของจีน และปรากฏว่าเมื่อชายไทยหันมานิยมชุดสากลแล้ว รัฐบาลจึงได้ขอให้หญิงไทยเลิกนุ่งโจงกระเบน เปลี่ยนมานุ่งผ้าถุง สวมหมวก สวมรองเท้า พร้อมกันนั้นรัฐบาลก็ได้วางระเบียบการแต่งกายของสตรีแบบเต็มยศและครึ่งยศ รวมถึงกำหนดเครื่องแต่งกายของผู้ประกอบอาชีพบางจำพวก เช่น ช่างตัดผม คนเดินโต๊ะอาหาร และในปี 2485 รัฐบาลได้ออกประกาศเกี่ยวกับการแต่งกายของชาวไทยว่า การแต่งกายเป็นระเบียบเรียบร้อยและสุภาพนั้นเป็นสิ่งที่เชิดชูวัฒนธรรม และเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างชาติให้วัฒนาถาวร รัฐบาลจึงขอให้ชาวไทยทั้งชายหญิงร่วมใจกันส่งเสริมและปฏิบัติตามรัฐนิยม อย่างเคร่งครัด
รัฐบาลยังได้วางระเบียบประเพณีวัฒนธรรมไทยอื่นๆ อีก เช่น การจัดพิธีสมรส พิธีการในเวลาประกอบพิธีสมรส การแต่งกายของคู่บ่าวสาว การจัดพิธีศพ การแต่งกายไปงานศพ ระเบียบการแสดงความเคารพในเวลาปกติ ในงานรัฐพิธีและพระราชพิธี การเคารพธงชาติ เพลงชาติ เพลงสรรเสริญพระบารมี เป็นต้น
* การยกฐานะและบทบาทของสตรี
รัฐบาลจอมพล ป.เป็นผู้ริเริ่มยกย่องสตรีว่ามีความสามารถและยอมรับให้มีฐานะเท่าเทียม บุรุษ โดยมีจุดมุ่งหมายให้สตรีมีส่วนร่วมสำคัญในการสร้างชาติทางวัฒนธรรม ดังจะเห็นได้จากการที่รัฐบาลวางระเบียบในด้านการแต่งกายดังกล่าวให้กับสตรี และยังได้มีการจัดตั้งกองทหารหญิง โรงเรียนนายร้อยหญิง และโรงเรียนนายสิบหญิง ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลยอมรับฐานะที่เท่าเทียมกันของสตรีและบุรุษ
* ด้านภาษาและหนังสือ
รัฐบาลเห็นว่าตัวสระและพยัญชนะของภาษาไทยมีอยู่หลายตัวที่ซ้ำเสียงกันโดยไม่จำเป็น ควรงดใช้เสียบ้าง เพื่อความสะดวกในการศึกษาเล่าเรียนภาษาไทยให้เป็นที่นิยมและแพร่หลายยิ่งขึ้นสำหรับชาวต่างประเทศ รัฐบาลจึงให้ตัดพยัญชนะและสระที่ซ้ำกันนั้นออก ด้วยการวางระเบียบและหลักเกณฑ์การใช้ตัวหนังสือไทย และจัดพิมพ์พจนานุกรมตัวสะกดแบบใหม่ประกาศใช้ใน พ.ศ.2485 แต่ปรากฏว่าภายหลังจอมพล ป.พ้นจากตำแหน่งใน พ.ศ.2487 รัฐบาลใหม่กลับหันไปใช้หนังสือไทยตามแบบเดิม
นอกจากนี้ ยังได้มีการวางระเบียบการใช้คำต่างๆ เช่น คำแทนชื่อ คำปฏิเสธ คำตอบรับ การตั้งชื่อบุคคลให้เหมาะสมกับเพศ และใช้คำทักทายว่า สวัสดี” ในโอกาสแรกที่พบกันด้วย
* การบูรณะซ่อมแซม
จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้มอบหมายให้หลวงวิจิตรวาทการ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร มีหน้าที่รับผิดชอบเมืองโบราณ และโบราณสถานที่สำคัญๆ หลายแห่ง เช่น ลพบุรีสุโขทัยนครปฐมอยุธยา เป็นต้น นอกจากนี้ได้มีการปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ให้เป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เพื่อเก็บรักษาโบราณสถานของชาติ พร้อมทั้งคัดเลือกโบราณวัตถุ เพื่อแสดงให้ประชาชนได้ชม ทางด้านหอสมุดแห่งชาติได้ทำการแปลและตีพิมพ์ศิลาจารึก สมุดข่อย และวรรณกรรมต่างๆ ที่เก่าแก่ของไทย เพื่อนำมาเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้ศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างขวาง
* การก่อตั้งสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ
จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้วางนโยบายปรับปรุงวัฒนธรรมของชาติโดยประกาศเป็นรัฐนิยม ได้เสนอ พระราชบัญญัติบำรุงวัฒนธรรมแห่งชาติ” ซึ่งมีหน้าที่จะต้องค้นคว้าดัดแปลง รักษา และส่งเสริมวัฒนธรรมที่มีอยู่ ค้นคว้าดัดแปลง และกำหนดวัฒนธรรมแห่งชาติให้เหมาะสมกับกาลสมัย ควบคุมและหาวิธีปลูกฝังวัฒนธรรมแห่งชาติในจิตใจของประชาชนจนเป็นนิสัย ให้คำปรึกษาและปฏิบัติตามความมุ่งหมายของรัฐบาลอันเกี่ยวกับวัฒนธรรมของชาติ

2.  การฟื้นฟูพระราชประเพณีในสมัยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นนายกรัฐมนตรี (พ.ศ.2501-2506)
ในสมัยนี้ได้มีนโยบายแน่วแน่ในการเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ในฐานะที่เป็นสถาบันหลักของสังคมไทยมาช้านาน จึงได้มีการฟื้นฟูพระราชประเพณีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์มาช้านาน จึงได้มีการฟื้นฟูพระราชประเพณีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น จัดให้มีพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พิธีการเสด็จพระราชดำเนินตรวจพลสวนสนาม การประดับโคมไฟและธงชาติตามอาคารบ้านเรือน และยกเลิกวันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ โดยกำหนดให้วันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็นวันชาติแทน นอกจากนี้ยังมีพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินทอดผ้ากฐินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคและทางสถลมารค เป็นต้น

การฟื้นฟูพระราชประเพณีต่างๆ เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์ ได้ทำให้มีการตื่นตัวที่จะฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมต่างๆ ของชาติเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์และพระพุทธศาสนา ให้ดำรงอยู่คู่ประเทศไทยสืบต่อไปอย่างกว้างขวาง

3.  การฟื้นฟูวัฒนธรรมเมื่อครั้งกรุงรัตนโกสินทร์มีอายุครบ 200 ปี
ในวันที่ 6 เมษายน 2525 รัฐบาลได้จัดให้มีการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี ทำให้ทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น วางโครงการบูรณะวัดพระพระศรีรัตนศาสดารามและพระบรมมหาราชวัง ให้มีสภาพดีเหมือนของเดิมทั้งหมด ศิลปกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านศิลปกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ที่ปรากฏอยู่ในบริเวณวัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระบรมมหาราชวัง ได้รับการบูรณะอย่างทั่วถึง

นอกจากนี้ ยังมีการฟื้นฟูบูรณะพิธีสำคัญที่เป็นวัฒนธรรมของชาติไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ อันได้แก่ พิธีเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศิลปะและวัฒนธรรมของไทยอันน่าตื่นตาตื่นใจ ในขบวนพยุหยาตราครั้งนั้นได้มีการอัญเชิญพระชัยหลังช้าง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำคัญประจำพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ในการเสด็จพระราชดำเนินไปราชการสงครามทุกครั้ง เข้าร่วมขบวนแห่ในครั้งนี้ด้วย

นอกเหนือจากการเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนหยุหยาตราทางชลมารคแล้ว ยังมีการอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์เข้าร่วมในขบวนแห่พยุหยาตราทางชลมารคเป็นขบวนพิเศษเพิ่มขึ้นด้วย

ในการประดับตกแต่งบริเวณถนนพระราชดำเนินก็แฝงไปด้วยความงดงามทางด้านศิลปะ และสะท้อนออกทางด้านวัฒนธรรมของไทย ได้มีการจำหลักลวดลายดวงตราพระราชลัญจกรประจำรัชกาลแต่ละรัชกาล ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 9 แล้วนำมาตกแต่งประดับประดาตามแนวกลางถนนราชดำเนิน ช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์มากขึ้น

การทำนุบำรุงและฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม ในขณะที่กรุงรัตนโกสินทร์มีอายุครบ 200 ปี ครั้งนั้น ไม่ได้กระทำกันเฉพาะในกรุงเทพฯ เท่านั้น ในต่างจังหวัดก็มีโครงการเหล่านั้นด้วย แตกต่างกันไปทั้งเนื้อหาและรูปแบบ จึงนับได้ว่าศิลปวัฒนธรรมไทยได้ตื่นตัวขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเฉลิมฉลองสมโภชพระนครในครั้งนั้นนั่นเอง

4.  การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชีนีนาถ
นอกจากกิจกรรมต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว ศิลปวัฒนธรรมไทยยังได้รับการฟื้นฟูและอนุรักษ์เอาไว้อย่างดียิ่ง ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชีนีนาถ ที่ทรงจัดตั้งมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพเพื่อฝึกสอนให้คนไทยรู้จักฝึกฝนทาง ด้านศิลปหัตถกรรม อันเป็นวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม เช่น การทอผ้า การปั้น การแกะสลัก เป็นต้น ผลปรากฏว่ามูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ได้สร้างผลงานทางด้านศิลปวัฒนธรรมไทยออกไปอย่างแพร่หลาย เป็นที่ตื่นตาตื่นใจแก่ผู้พบเห็น ไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างประเทศ และเป็นสิ่งที่ดึงดูดให้ชาวต่างประเทศได้เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมาก ขึ้น เพื่อชมผลงานของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ อีกทั้งยังสร้างรายได้แก่พสกนิกรที่สามารถผลิตผลงานออกจำหน่ายด้วย

บทสรุป
ลักษณะสังคมและวัฒนธรรมไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปในทางสร้างสรรค์ อันเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยตลอด นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนากรุงรัตน โกสินทร์เป็นราชธานีของไทย ตั้งแต่ พ.ศ.2325 จนถึงปัจจุบัน

ต่อมาในยุคปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย ตามแบบตะวันตกกระแสความคิดเกี่ยวกับเรื่องสิทธิของความเป็นมนุษย์จากโลก ตะวันตกได้แพร่ขยายเข้ามาในสังคมไทย รัชกาลที่ 4 ได้ทรงปรับปรุงสังคมและวัฒนธรรมไทยบางประการให้สอดคล้องกับค่านิยมและ วัฒนธรรมตะวันตก ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปสังคมครั้งใหญ่ ด้วยการยกเลิกระบบไพร่และประกาศเลิกทาส ซึ่งถือได้ว่าเป็นการปลดปล่อยคนไทยให้เป็นอิสระแก่ตัวเอง ขณะเดียวกันก็ทรงยกฐานะของคนไทยให้ทัดเทียมกันด้วยการปฏิรูปการศึกษา เพื่อให้คนไทยได้มีโอกาสยกระดับสติปัญญาของตนเองให้สูงขึ้นและทัดเทียมกัน อันจะส่งผลอย่างสำคัญยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในระยะหลังต่อมา นอกจากนี้รัชกาลที่ 5 ยังได้ทรงทำนุบำรุงส่งเสริมงานทางด้านศิลปวัฒนธรรมอย่างกว้างขวาง เพื่อสร้างเสริมความเป็นเอกลักษณ์ของสังคมไทย

ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ใน พ.ศ.2475 จนถึงปัจจุบัน สังคมไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย เพราะคนไทยได้รับสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค ภายใต้รัฐธรรมนูญ ได้มีความพยายามที่จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสังคมและวัฒนธรรมของไทยให้สอดคล้อง กับแนวนโยบายชาตินิยมแห่งรัฐในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี (พ.ศ.2481-2487) นอกจากนี้ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยมีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์และได้ร่วมมือกับโลกตะวันตกโดยเฉพาะ สหรัฐอเมริกามากขึ้น ทำให้เกิดผลกระทบต่อสังคมและวัฒนธรรมไทยไม่น้อย อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากอิทธิพลของต่างประเทศที่แพร่หลายเข้ามาตามลำดับจน ถึงปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยก็สามารถรักษาความเป็นเอกภาพทางสังคม และสามารถรักษาศิลปวัฒนธรรมของไทยเอาไว้ได้อย่างเหนียวแน่นและเจริญรุ่งเรืองมาโดยตลอด เพราะสังคมไทยมีสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นศูนย์รวมของคนไทยทั้งชาติ ถึงแม้จะเกิดความระส่ำระสายในสังคมขึ้นบ้าง แต่ก็สามารถแก้ไขให้กลับคืนสู่ความเป็นปกติอย่างรวดเร็ว เพราะพระบารมีแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยนั้นเอง.