รายวิชา ประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส22102 คุณครูผู้สอน คุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ข่าว

วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ยุคศักดินา (1027 ปี ก่อน ค.ศ. – ค.ศ. 1912)

จีน ถือเป็นประเทศเก่าแก่ ที่เต็มไปด้วยอารยธรรมที่ยาวนานมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก รองลงจากอารยธรรมอียิปต์ ซึ่งหากย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 5,000 ปีที่ผ่านมา ก็จะสามารถพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่บ่งชี้ถึงอารยธรรมจีนได้แล้ว และตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมานี้ ก็ได้ก่อเกิดเรื่องราวและประวัติศาสตร์มากมายนับไม่ถ้วน และเรื่องราวต่างๆก็ถูกเล่าสืบต่อจนกลายเป็นตำนานที่ถูกเล่าขานตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน
อารยธรรมจีนที่เป็นรากฐานที่สำคัญที่สุด ก็คือ ‘การสร้างระบบภาษาเขียน’ ในยุคราชวงศ์กอณัฐ ซึ่งในขณะนั้นถูกใช้เป็นภาษากลางในการสื่อสารทั่วประเทศ และถือเป็นครั้งแรกในโลกด้วย และระบบแนวคิดนี้ก็ถูกพัฒนาไปเป็นภาษาอังกฤษในปัจจุบัน ที่สามารถอ่านเป็นภาษาเยอรมัน รัสเซีย หรือสเปน ที่มีสำเนียงต่างกันได้
ประวัติศาสตร์จีน มีเรื่องราวความเป็นมาซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นช่วงเวลาต่างๆ ได้ดังนี้
ยุคก่อกำเนิด หรือยุคบรรพกาล (? – 2100 ปี ก่อน ค.ศ.)
แม่น้ำหวงเหอ ถือเป็นลุ่มแม่น้ำที่มีผู้คนพากันมาอาศัยอยู่มาตั้งแต่ช่วงยุคหิน และผู้คนก็เริ่มมีพัฒนาการขึ้นมาเรื่อยๆ ตั้งแต่เริ่มจากต่างคนต่างอยู่ มาเป็นการยังชีพด้วยการเก็บของป่าและการล่าสัตว์ ต่อมาก็เกิดการรวมกลุ่มกันขึ้นเป็นชุมชน เริ่มทำการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ จนก่อให้เกิดเป็นสังคมแบบชนเผ่าขึ้น ซึ่งช่วงเวลาแห่งการเริ่มต้นนี้ มี 3 ผู้นำ ได้แก่ “ซุ่ยเหริน ฝูซี และเสินหนง” เป็นบุคคลสำคัญที่มีส่วนในการช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยนั้นให้ดีขึ้น ซึ่งต่อมา สามคนนี้ก็ได้รับการยกย่องให้เป็น “ซันหวง” หรือสามกษัตริย์
จนเมื่อประมาณ 4600 ปีก่อนคริสต์ศักราช “หวงตี้ หรือ จักรพรรดิเหลือง” ก็เข้าปราบปรามชนเผ่าทั้งหลายในแถบลุ่มน้ำหวงเหอได้ทั้งหมด และทำให้เกิดเป็นจุดเริ่มต้นของชนชาติ “หวาเซี่ย” หรือ ชนชาติจีน ในที่สุด และเวลาต่อมา ก็เกิดมีผู้นำที่มีความสามารถ ได้แก่ จวนซวี ตี้คู่ เหยา และซุ่น ซึ่งบุคคลทั้งสี่ได้รวมตัวกับหวงตี้ จนกลายเป็นกลุ่มคนที่มีชื่อเรียกว่า “หวู่ตี้ หรือ ห้าจักรพรรดิ”
แต่แล้วสังคมจีนแบบบุพกาลครั้งนี้ก็สิ้นสุดลง เนื่องจาก “ต้าอวี่” เป็นบุคคลที่สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในแถบลุ่มแม่น้ำหวงเหอ ที่เป็นปัญหาสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนแถบนั้นได้สำเร็จ ทำให้พระเจ้าซุ่นยอมสละราชบัลลังก์ของตน มอบให้แก่ผู้ที่มีความสามารถมากกว่าอย่างต้าอวี่
ต้าอวี่ จึงได้ขึ้นปกครองประเทศด้วยความสงบสุขตลอดมา จนเมื่อตนเองแก่ชรา ก็คิดจะมอบราชสมบัติต่อให้แก่ “อี้” อีกหนึ่งบุคคลที่มีความสามารถ แต่เพราะแรงสนับสนุนจากบรรดาหัวหน้าเผ่าที่อยู่ภายใต้การปกครองของต้าอวี่ ทำให้ “ฉี่” ผู้เป็นโอรสของต้าอวี่ ได้ขึ้นสืบทอดบัลลังก์ต่อจากบิดาแทน และนี่ก็กลายเป็นจุดสิ้นสุดของยุคบรรพกาล และทำให้ประวัติศาสตร์จีนเปลี่ยนเข้าสู่ยุคแห่งรัฐระบอบทาสแทน
ยุคทาส (2100 – 1028 ปี ก่อน ค.ศ.)
ยุคทาส เป็นยุคที่จีนเริ่มมีการสถาปนาระบอบการปกครองแบบราชวงศ์ขึ้น และการสืบต่อราชบัลลังก์จะต้องเป็นการสืบสันตติวงศ์ทางสายเลือด ซึ่งเข้ามาแทนที่การคัดเลือกจากความสามารถที่เคยเป็นมาในยุคก่อน และทำให้ยุคนี้เริ่มมีชนชั้นทาสเกิดขึ้นด้วย ทั้งนี้ก็เพราะเมื่อฉี่ขึ้นครองราชย์ ยังคงมีชนเผ่าบางเผ่าที่ไม่ยอมรับในอำนาจการปกครองของเขา ฉี่จึงจำเป็นต้องยกทัพไปปราบกลุ่มคนเหล่านั้น และกวาดต้อนเชลยศึกมาทำหน้าที่รับใช้ตน และจุดเริ่มต้นของทาสและนายทาสก็บังเกิดขึ้นนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ยุคทาสนี้ประกอบไปด้วยราชวงศ์ 2 ราชวงศ์ ดังต่อไปนี้
ราชวงศ์เซี่ย (2100 – 1600 ปี ก่อน ค.ศ.)
สถาปนาราชวงศ์ขึ้นโดยฉี่ ผู้เป็นโอรสของต้าอวี่ และสิ้นสุดราชวงศ์ลงที่ “เจี๋ย”  รวมมีกษัตริย์ปกครองทั้งหมด 17 พระองค์
ราชวงศ์ชาง (1600 – 1028 ปี ก่อน ค.ศ.)
สถาปนาราชวงศ์ขึ้นโดย “ชางทัง” ผู้รวบรวมกำลังประชาชนขึ้นโค่นล้มการปกครองของพระเจ้าเจี๋ย ยุคนี้มีความเจริญรุ่งเรืองในด้านเครื่องสัมฤทธิ์เป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นยุคที่อักษรกระดองเต่าถือกำเนิดขึ้นมาด้วย ราชวงศ์นี้ปกครองอย่างยาวนานจนถึง “โจ้ว” กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ รวมมีกษัตริย์ปกครองทั้งสิ้น 30 พระองค์
กำแพงเมืองจีน
ยุคศักดินา (1027 ปี ก่อน ค.ศ. – ค.ศ. 1912)
หลังจากที่ “โจวหวู่หวาง” รวบรวมกำลังพลเข้าโค่นล้มพระเจ้าโจ้วหวางแห่งราชวงศ์ชางแล้ว ก็ได้สถาปนาราชวงศ์โจวขึ้น ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของยุคใหม่ขึ้นด้วย โจวหวู่หวางได้มีการปูนบำเหน็จรางวัลให้แก่บรรดาเชื้อพระวงศ์ ขุนศึก และหัวหน้าเผ่าต่างๆ ที่ช่วยกันร่วมมือโค่นล้มราชวงศ์ชาง อีกทั้งแต่งตั้งให้คนเหล่านี้เป็น “จูโหว” หรือเจ้าครองแคว้น พร้อมทั้งมอบที่ดินในขนาดต่างๆตามแต่ระดับความดีความชอบ ให้พวกเขาได้เป็นสมบัติและปกตรองภายใต้อำนาจของตนเองด้วย กษัตริย์แห่งราชวงศ์โจว หรือ“โอรสสวรรค์” จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของยุคศักดินา ยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์จีนที่แสนยาวนาน ยุคนี้ประกอบไปด้วยราชวงศ์ต่างๆ ดังต่อไปนี้
ราชวงศ์โจว (1027 – 256 ปี ก่อน ค.ศ.)
ราชวงศ์โจว ถือเป็นราชวงศ์ที่มีอายุยาวนานมากที่สุดในประวัติศาสตร์จีน และถือเป็นจุดเริ่มต้นของระบอบศักดินาด้วย ราชวงศ์นี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ช่วง ได้แก่ ‘ราชวงศ์โจวตะวันตก’ (1027 – 771 ปี ก่อน ค.ศ.) ซึ่งมีเมืองหลวงอยู่ที่เฮ่าจิง กับ ‘ราชวงศ์โจวตะวันออก’ (770 – 256 ปี ก่อน ค.ศ.) ที่มีเมืองหลวงอยู่ที่ลั่วอี้
โดยยุคราชวงศ์โจวตะวันออก ก็สามารถแบ่งย่อยออกได้อีกเป็น 2 ยุค คือ ชุนชิว กับ จ้านกั๋ว ซึ่งทั้งสองยุค เป็นยุคที่มีการสู้รบเพื่อแย่งชิงดินแดนกันอย่างวุ่นวายของบรรดาเจ้าผู้ครองแคว้น ทำให้เกิดความขัดแย้งวุ่นวายในทั่วทุกหัวระแหง อย่างไรก็ตาม ยุคนี้ก็ถือเป็นยุคแห่งความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปวิทยาการมากมาย โดยเฉพาะด้านปรัชญาความคิด ทำให้ยุคนี้ถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ‘ยุคปราชญ์ร้อยสำนัก’ ตามที่หลายคนอาจรู้จักนักปราชญ์จีนคนสำคัญของอย่าง ขงจื่อ เหลาจื่อ จวงจื่อ ซุนวู หรือ ซุนจื่อ ม่อจื่อ เมิ่งจื่อ สวินจื่อ หรือหานเฟยจื่อ เป็นต้น อีกทั้ง ยุคนี้ยังเป็นยุคต้นกำเนิดของปรัชญาสำคัญ ที่ในกาลต่อมาได้กลายเป็นเสาหลักแห่งความคิดของอารยธรรรมจีน อย่าง ‘ปรัชญาขงจื่อ’ และ ‘ปรัชญาเต๋า’ นั่นเอง
ราชวงศ์ฉิน
ราชวงศ์ฉิน (221 – 207 ปี ก่อน ค.ศ.)
เนื่องจาก ฉินหวางเจิ้ง สามารถยุติความขัดแย้งในช่วงยุคจ้านกั๋ว และสามารถรวบรวมแผ่นดินจีนให้เป็นปึกแผ่นได้สำเร็จอีกครั้ง พระองค์จึงได้สถาปนาราชวงศ์ฉิน ซึ่งเป็นการปกครองระบอบรวมศูนย์อำนาจขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์จีน และยังสถาปนา “ฮ่องเต้ หรือจักรพรรดิ” ให้เป็นตำแหน่งสูงสุดในการปกครองประเทศอีกด้วย ซึ่งฮ่องเต้ก็ถูกใช้เรื่อยมาจนถึงยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยพระองค์ได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็น “ฉินสื่อหวงตี้ หรือ จิ๋นซีฮ่องเต้” ฮ่องเต้คนแรกของประวัติศาสตร์จีน พระองค์ถือเป็นผู้สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในด้านภาษา การคมนาคม เงินตรา ระบบการชั่งตวงวัด รวมถึงเป็นผู้สร้างกำแพงเมืองจีน สิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ใช้ในการปกป้องการรุกรานของศัตรูทางตอนเหนือของประเทศด้วย
ราชวงศ์ฮั่น (202 ปี ก่อน ค.ศ. – ค.ศ. 220)
หลังจากที่ราชวงศ์ฉินล่มสลายลงเนื่องจากการต่อต้านของชาวนาและอดีตชนชั้นปกครอง หลิวปัง ขุนศึกที่ได้รับชัยชนะจากการต่อสู้แย่งชิงความเป็นใหญ่ครั้งนี้ จึงสถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิที่มีชื่อว่า “ฮั่นเกาจู่”  ราชวงศ์ฮั่นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ช่วงคือ ‘ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก’ (202 ปีก่อน ค.ศ. – ค.ศ. 8) กับ ‘ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก’ (ค.ศ. 25 – 220) และเมื่อราชวงศ์ฮั่นตะวันออกล่มสลาย แผ่นดินจีนก็กลับมาวุ่นวายอีกครั้ง และเกิดเป็นยุคสามก๊กขึ้นมา (ค.ศ. 220 – 265) หรือการที่แผ่นดินจีนถูกแบ่งออกเป็นสามแคว้น ที่ต่อสู้แย่งชิงความเป็นใหญ่ซึ่งกันและกัน
ราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 265 – 420)
“จักรพรรดิจิ้นหวู่ตี้ หรือ ซือหม่าเหยียน” เป็นผู้สถาปนาราชวงศ์จิ้นขึ้น เนื่องจากพระองค์สามารถจัดการปราบสามก๊ก และรวบรวมแผ่นดินจีนเข้าไว้เป็นหนึ่งเดียวได้สำเร็จ ราชวงศ์จิ้นสามารถแบ่งย่อยได้เป็น 2 ช่วง ได้แก่ ‘จิ้นตะวันตก’ (ค.ศ. 265 – 316) กับ ‘จิ้นตะวันออก’ (ค.ศ. 317 – 420)
ราชวงศ์เหนือใต้ (ค.ศ. 420 – 589)
เมื่อราชวงศ์จิ้นล่มสลายลงของ แผ่นดินจีนก็ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยมีแม่น้ำแยงซีเกียงเป็นเส้นแบ่งกึ่งกลาง แต่ละส่วนก็ต่างมีราชวงศ์สลับสับเปลี่ยนขึ้นมาปกครอง และถือเป็นยุคที่มีการต่อสู้ฆ่าฟันกันอย่างวุ่นวายมากที่สุดยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์จีน อย่างไรก็ตาม ยุคนี้ก็เป็นการหลอมรวมกันครั้งยิ่งใหญ่ของวัฒนธรรมจีนเหนือและจีนใต้
ราชวงศ์สุย (ค.ศ. 581 – 618)
“จักรพรรดิสุยเหวินตี้ หรือหยางเจียน” เป็นผู้สถาปนาราชวงศ์นี้ขึ้นมาหลังจากที่แผ่นดินจีนแตกแยกวุ่นวาย อีกทั้ง ยังเป็นผู้เริ่มต้นระบบการสอบเข้ารับราชการหรือการสอบจอหงวน รวมถึงการขุดคลองต้าอวิ้นเหอ เพื่อเชื่อมต่อเส้นทางคมนาคมเหนือใต้เข้าหากันด้วย
ราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618 – 907)
“จักรพรรดิถังเกาจู่ หรือหลี่เยวียน” เป็นผู้สถาปนาราชวงศ์นี้ขึ้นจากการที่พระองค์สามารถรบชนะบรรดาขุนศึกต่างๆได้สำเร็จ ราชวงศ์ถังอาศัยรากฐานความเจริญเดิมที่ราชวงศ์สุยเคยสร้างไว้ และเพิ่มเติมความรุ่งเรืองให้แก่อาณาจักรของตนมากขึ้นไปอีก ทำให้จีนในยุคนี้ถือเป็นยุคที่เจริญรุ่งเรืองมากที่สุดในทุกด้าน หรือเรียกว่า ‘ยุคทองของประวัติศาสตร์จีน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น