รายวิชา ประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส22102 คุณครูผู้สอน คุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ข่าว

วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2558

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในแต่ละยุคสมัยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในแต่ละยุคสมัยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่
  1. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร คือ หลักฐานที่แสดงออกมาในรูปของตัวหนังสือที่มนุษย์ขีดเขียนทิ้งไว้ โดยอาจจะอยู่ในรูปของพงศาวดาร จดหมายเหตุ ตำนาน หรือกฎหมาย
  2. หลักฐานที่เป็นวัตถุ คือ วัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นในแต่ละยุคแต่ละสมัย และสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ประกอบไปด้วย โบราณสถาน และโบราณวัตถุ
       
ลักษณะสำคัญของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทย สามารถแบ่งลักษณะออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่
  1. หลักฐานที่ไม่ใช่ลายลักษณ์อักษร ได้แก่
1.1 โบราณสถาน คือ สิ่งก่อสร้างที่ติดอยู่กับพื้นดิน และไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ การศึกษาหลักฐานประเภทนี้ จึงจำเป็นจะต้องเดินทางไปยังสถานที่นั้นๆโดยตรง ตัวอย่างของโบราณสถาน เช่น กำแพงเมือง คูเมือง วัด โบสถ์ วิหาร เจดีย์ หรือ ที่อยู่อาศัย เป็นต้น
1.2 โบราณวัตถุ คือ สิ่งของโบราณที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ โบราณวัตถุอาจเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเองก็ได้ ตัวอย่างของโบราณวัตถุ เช่น พระพุทธรูป  รูปเคารพต่างๆ เครื่องประดับ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ  เป็นต้น
Hamburg_in_Ruins
  1. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่
2.1 จารึก หมายถึง หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ที่ใช้วิธีเขียนเป็นรอยลึกลงบนแผ่นหิน แผ่นดีบุก แผ่นอิฐ และใบลาน ตัวอย่างจารึกที่สำคัญ เช่น ศิลาจารึกหลักที่ 1 (จารึกพ่อขุนรามคำแหง) , ศิลาจารึกหลักที่ 2 (จารึกวัดศรีชุม) , ศิลาจารึกหลักที่ 3 (จารึกนครชุม) , ศิลาจารึกหลักที่ 4 (จารึกวัดป่ามะม่วง) เป็นต้น นอกจากนี้ ยังอาจจารึกไว้บนปูชนียสถานหรือปูชนียวัตถุต่างๆก็ได้ เช่น จารึกบนฐานพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย เป็นต้น
จารึกที่พบในประเทศไทย มักจะเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์และศาสนา ซึ่งมีทั้งที่เป็นตัวอักษรภาษาไทย ขอม มอญ ภาษาบาลี และสันสกฤต
2.2 เอกสารพื้นเมือง นับเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในลักษณะที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่สำคัญของประเทศไทย แบ่งเป็นรายละเอียดต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้
1) ตำนาน เป็นเรื่องเล่าที่กล่าวถึงเหตุการณ์ในอดีตที่เล่าสืบต่อกันมานานพอสมควร แต่ไม่สามารถหาจุดกำเนิดหรือรับรู้ได้ว่าใครเป็นคนแรกที่เล่าเรื่อง จนภายหลังมีผู้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และคัดลอกตำนานเหล่านั้นเป็นทอดๆไปเรื่อยๆ ทำให้มีโอกาสที่เรื่องราวจะคลาดเคลื่อนไปได้เรื่อยๆ ตำนานส่วนมากจะกล่าวถึงบ้านเมืองหรือชุมชนในสมัยเก่า หรือกล่าวถึงบุคคลสำคัญที่มีชื่อเสียงในอดีต ตัวอย่างตำนานเช่น ตำนานสิงหนวัติ, จามเทวีวงศ์, ตำนานสุวรรณโคมคำ, ตำนานมูลศาสนา เป็นต้น
2) พงศาวดาร เดิมทีใช้สำหรับเรียกเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดิน แต่ต่อมา พงศาวดารถูกใช้ให้มีความหมายที่กว้างออกไปกว่าเดิม ซึ่งหมายถึง การบันทึกเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับอาณาจัก รและกษัตริย์ที่ปกครองอาณาจักรในอดีต  พงศาวดารเริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทำให้สามารถแบ่งพงศาวดารย่อยออกได้เป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา และ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ตัวอย่างพงศาวดารเช่น พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์, พงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐ, พงศาวดารเหนือ, พงศาวดารโยนก เป็นต้น
3) จดหมายเหตุ เดิมทีมีความหมายถึงการเป็นบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวัน เดือน ปีหนึ่งๆ แต่ในปัจจุบัน ความหมายของจดหมายเหตุ หมายถึง เอกสารทางราชการทั้งหมดที่เมื่อครบปีจะต้องนำชิ้นที่ไม่ใช้ไปเก็บรวบรวมไว้ที่กองจดหมายเหตุแห่งชาติ ซึ่งเอกสารที่มีอายุตั้งแต่ 25-50 ปีขึ้นไป จึงจะถูกเรียกว่า “จดหมายเหตุหรือบรรณสาร” ในสมัยโบราณ จดหมายเหตุของไทยจะถูกบันทึกโดยผู้ที่รู้หนังสือและรู้ฤกษ์ยามดี โดยจะต้องมีการบันทึกวัน เดือน ปี และฤกษ์ยามในทุกครั้งที่มีการจดเหตุการณ์สำคัญลงไปในจดหมายเหตุ ตัวอย่างจดหมายเหตุเช่น จดหมายเหตุของหลวง, จดหมายเหตุของลาลูแบร์, บันทึกของบาดหลวงเดอ ชัว สี, จดหมายเหตุวันวิลิต, เอกสารฮอลันดา เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น